ลำดับเหตุการ์กฎหมายศุลกากรจากอดีตปี 2469 สู่ฉบับปัจจุบันปี 2560
โดย ดร.สงบ สิทธิเดช
ปี พ.ศ.
|
เหตุการณ์ทางศุลกากร
|
เหตุการณ์ทางการเมือง
|
เหตุผลในการแก้ไขกฎหมาย
|
สมัยสุโขทัย
– 2494
|
ระยะเกษตรกรรม
|
||
2398
|
หลังสนธิสัญญาบาวนิ่ง พ.ศ.
2398 มีผลใช้บังคับ
|
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 (พ.ศ. 2394 - 2411) เป็นช่วงที่ยุโรปแข่งขันกันล่าอาณานิคม ด้วยเหตุผลทางการเมือง ร4
จึงพยายามโอนอ่อนผ่อนตามข้อเสนอของประเทศตะวันตกและยอมเซ็นสนธิสัญญาบาวนิ่ง (Bowring Treaty) ในปี 2398
|
2399
เป็นการรื้อโครงสร้างทางการค้าและการคลังของไทยที่ทำมาก่อนนี้อย่างช้านาน รัฐบาลต้องสูญเสียเสรีภาพทางการค้า
และต้องขาดรายได้อย่างมหาศาลจากระบบการผูกขาดการค้าและการจัดเก็บถาษีที่ทำมาตั้งแต่สมัยอยุธยา อย่างไรก็ตามนับเป็นก้าวแรกของการเปิดประตูการค้ากับต่างประเทศอย่างเสรี
ผลของสนธสัญญาฯทำให้ประเทศอื่นๆส่งฑูตเข้ามาขอเจรจาทำสนธิสัญญาทางการค้าลักษณะเดียวกันนี้
|
2426-2431
|
คำว่า “ศุลกากร” ได้เริ่มมีใช้เป็นครั้งแรก
เจ้าพระยาภาศกรวงศ์เป็นผู้คิดขึ้นเพื่อหาตรงกับคำว่า
Customs ในภาษาอังกฤษ
|
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2411 - 2453)
|
|
2452
|
ยกร่างกฎหมายศุลกากร
|
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 (พ.ศ. 2453 - 2468)
|
พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าพร้อมพงษ์อธิราช
ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดี และ มร.วิลเลียมนันท์เป็นที่ปรึกษาศุลกากร
ทางการได้จัดร่างกฎหมายวางระเบียบวิธีการศุลกากรขึ้นฉบับหนึ่ง เรียกว่า
ร่างข้อบังคับการค้าและศุลกากร (TRADE AND CUSTOMS REGULATION) โดยอาศัยตามหลักกฎหมายอังกฤษเป็นแบบฉบับ(CUSTOMS
CONSOLIDATION ACT 1879) แล้วส่งร่างข้อบังคับทางการค้าดังกล่าว [DRAFT OF PROPOSED TRADE
AND CUSTOMS REGULATIONS FOR THE KINGDOM OF SIAM, R.S. 128 (1909)] ไปให้นานาประเทศที่มีสัญญาทางพระราชไมตรีกับประเทศไทย พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน
|
2456
|
พ.ร.บ. การเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456
ยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทยที่ได้ตราขึ้นไว้เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน รศ. 124 (2448)
|
ในช่วงรัชกาลที่ 6
|
|
2457-2461
|
เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1
ประเทศไทยได้ประกาศสงครามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรเมื่อวันที่
22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460
|
ในช่วงรัชกาลที่
6
|
|
2461
|
สงครามโลกสิ้นสุดลง
ประเทศไทยถือโอกาสเจรจายกเลิกสัญญาที่ไม่เป็นธรรมกับนานาประเทศ
ซึ่งได้ทำไว้ตั้งแต่ครั้งสนธิสัญญาบาวริง โดยเฉพาะในเรื่องพิกัดศุลกากรซึ่งเดิมเราจะเก็บภาษีศุลกากรเกินกว่าร้อยชักสามไม่ได้
|
ในช่วงรัชกาลที่
6
|
|
2469
|
ประกาศใช้ พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ.
2469 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 43 หน้า 272 วันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ.
2469
|
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 7 (พ.ศ. 2468 - 2477)
|
พระราชปรารภ โดยที่ทรงพระราชดำริเห็นว่าวิธีจัดและปฏิบัติการของกรมศุลกากรนั้นสมควรจะกำหนดไว้ให้เป็นระเบียบสืบไป
|
2469
|
ประกาศใช้พระราชบัญญัติพิกัดอัตราศุลกากรฉบับปฐมฤกษ์
ประกาศอีกครั้ง พ.ร.บ.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2478
|
ประเทศไทยได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติพิกัดอัตราศุลกากรฉบับปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2469 ปีเดียวกันนี้ด้วย ต่อมาได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างสลับซับซ้อนรวม 11 ครั้ง ทางราชการจึงได้ทำสังคายนายกร่างขึ้นใหม่เป็น พ.ร.บ. พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2478 และได้แก้ไขให้สอดคล้องกับระบบราคาของ BDV (Brussels Definition of Value) ซึ่งใช้การจำแนกประเภทสินค้าตามแบบ CCCN (Customs Co-operation Council Nomenclature) โดยออกเป็น พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 และก็ได้มีการแก้ไขหลายครั้งจนถึงครั้งที่ 57 เป็น พ.ร.ก. พิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ 45) พ.ศ. 2528 ซึ่งเป็นฉบับสุดท้าย จึงได้ถูกยกเลิกทั้งหมดและให้นำ พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 มาใช้แทน เนื่องจากฉบับของ CCCN ล้าสมัย ขาดรายละเอียดและความชัดแจ้ง ซึ่งเป็นผลเสียแก่การค้า การอุตสาหกรรมและการลงทุนของประเทศ จึงได้ปรับปรุงพระราชกำหนดดังกล่าวเสียใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยนำหลักการและโครงสร้างการจำแนกประเภทพิกัดสินค้า ซึ่งเรียกว่าระบบฮาร์โมไนซ์ (Harmonized System) อันเป็นระบบที่ชัดแจ้งกว่ามาใช้แทน | |
2471
|
พ.ร.บ.
ศุลกากรแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พ.ศ.2471 [รก.2471 / - / 22 /
15 เมษายน 2471]
|
ในช่วงรัชกาลที่ 7
|
แก้ไข
ม.10,88
|
2472
|
พ.ร.บ.
ศุลกากรแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2472
[รก.2472 / - / 335 / 9 กุมภาพันธ์ 2472]
|
ในช่วงรัชกาลที่ 7
|
เปลี่ยนแบบใบขนสินค้าขาเข้าตาม
ม.42
เพื่อแก้ไขสถิติพยากรณ์ศุลกากรเพื่อแสดงเมืองกำเนิดของสินค้าขาเข้าที่ส่งมาจากสิงคโปร์และฮ่องกง
|
2474
|
พ.ร.บ.
ศุลกากรแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3)
พ.ศ.2474
[รก.2474 / - / 560 / 4 กุมภาพันธ์ 2474]
|
ในช่วงรัชกาลที่ 7
|
ม.7
ก, 8, 49, 50, 68, 69
|
2475
|
พ.ร.บ.ศุลกากรแก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ 4) พ.ศ.2475 [รก.2475
/ - / 88 / 28 เมษายน 2475]
|
ในช่วงรัชกาลที่ 7 คณะราษฎรทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
24 มิ.ย.2475 และประกาศใช้ พ.ร.บ.ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
(2475-2476)
|
ม.3 ยกเลิกและใช้ใบแนบ 4(จ)
อัตราค่าธรรมเนียมสำหรับรายงานฯลฯ
และได้ถูกยกเลิกโดยฉบับที่ 10 พ.ศ. 2483
|
2478
|
พ.ร.บ.พิกัดอัตราศุลกากร
พ.ศ. 2478
[รก.2478 / - / 52 / 21 มีนาคม 2478]
|
พันเอกพระยาพหล
พลพยุหเสนา(2476-2481)
|
ในระหว่างที่พระวรวงค์เธอพระองค์เจ้าวิวัฒนไชยทรงดำรงตำแหน่งเป็นอธิบดีกรมศุลกากร (พ.ศ.
2478 - 2481) ได้ทรงปรับปรุงงานด้านศุลกากรเพื่อให้เป็นกรมที่มีประสิทธิภาพและทันสมัย
ผลงานสำคัญคือ การตราพระราชบัญญัติพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2478 เปลี่ยนการเก็บภาษีศุลกากรจากหลักการเก็บตามราคามาเป็นตามสภาพ นับเป็นแม่บทในการเรียกเก็บภาษีอากรของไทยตามแบบอารยประเทศ
และยังได้ขยายประเภทของสินค้าที่ต้องเสียภาษีจาก 30-40 ประเภท
|
2479
|
พ.ร.บ.พิกัดอัตราศุลกากร
(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2479
[รก.2479 / - / 53 / 27 มีนาคม 2479]
|
ม.
7-8 หลักเกณฑ์การตีความ
|
|
2479
|
พ.ร.บ.
ศุลกากร (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2479
[รก.2480 / - / 188 / 26 เมษายน 2480]
|
แก้ไขเพิ่มเติมคำว่า
“พนักงานศุลกากร" และ "พนักงาน”
|
|
2480
|
พ.ร.บ. การเดินอากาศ พ.ศ.
2480, (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2490, พ.ศ.2492
ยกเลิกโดย พ.ร.บ. การเดินอากาศ พ.ศ. 2497
|
||
2480
|
พ.ร.บ.
ศุลกากร (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2480 [รก.2481 / - / 54 / 25
เมษายน 2481]
|
ข้อความขึ้นต้นในการตรากฎหมาย
โดยที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติว่า สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยศุลกากรที่เกี่ยวกับเรื่องการนำของเข้าหรือการส่งของออก
|
|
2480
|
พ.ร.บ.ศุลกากร
(ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2480
การนำของเข้าหรือส่งของออกทางอากาศ
มีผลใช้เมื่อพ้น
6 เดือน ใน ร.จ. 25/04/81
|
เนื้อหาทั้งฉบับจะว่าด้วยเรื่องการนำของเข้าหรือส่งของออกทางอากาศยาน
|
|
2481
|
ประมวลข้อบังคับศุลกากร
พ.ศ.2481
โดยพระวรวงค์เธอพระองค์เจ้าวิวัฒนไชยทรงดำรงตำแหน่งเป็นอธิบดีกรมศุลกากร
|
เมื่อนายปรีดี พนมยงค์ ได้ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
(พ.ศ.2481-2484)
ได้แถลงนโยบายต่อสภาผู้แทนราษฎรข้อหนึ่งว่า "จะจัดการปรับปรุงภาษีอากรให้ยุติธรรมแก่สังคม" จึงได้มีการปรับปรุงระบบการภาษีอากรครั้งใหญ่
โดยการออกพระราชบัญญัติประมวลรัษฎากร ประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2482 ได้ยกเลิกกฎหมายเก่าที่เกี่ยวกับภาษีอากรที่ล้าสมัย
|
พระวรวงค์เธอพระองค์เจ้าวิวัฒนไชยทรงดำรงตำแหน่งเป็นอธิบดีกรมศุลกากร (พ.ศ.
2478 - 2481) ได้ตราพระราชบัญญัติพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2478
เปลี่ยนการเก็บภาษีศุลกากรจากหลักการเก็บตามราคามาเป็นตามสภาพ
นอกจากนี้ยังทรงรับสั่งให้จัดรวบรวมประมวลคำสั่ง
ระเบียบและกฎหมายต่าง ๆ ที่เจ้าพนักงานศุลกากรต้องปฏิบัติ เข้าเป็นหมวดหมู่ เป็นคู่มือของข้าราชการเรียกว่า
"ประมวลข้อบังคับศุลกากร พ.ศ.2481" ซึ่งข้าราชการกรมศุลกากรได้ยึดถือเป็นคู่มือการปฏิบัติราชการตลอดมา
|
2481
|
พรบ.
เรือไทย พ.ศ.2481
|
พันเอกหลวงพิบูลสงคราม
(2481-2485)
|
|
2482
|
พ.ร.บ.ศุลกากร
(ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482
[รก.2482 / - / 1168 / 13 ตุลาคม 2482]
|
แก้ไข
ม.11,24, 25, 27, 102, 112,
ม.15
ตัวการต้องรับผิดทางแพ่ง ,ม.16 หลักยกเว้นเรื่องเจตนา, ม.17
การริบของอันเนื่องด้วยความผิดตาม ม.27, ม.18 ของตกค้างอายุ 4 เดือน และ ม.19 ว่าด้วยเรื่องของ Re – Export โดยคืนอากร 7 ใน 8 ส่วน
|
|
2483
|
พ.ร.บ.ศุลกากร
(ฉบับที่ 10)พ.ศ. 2483
[รก.2483 / - / 747 / 29 พฤศจิกายน 2483]
|
แก้ไข
ม.88 และม.122 ให้แก้ไขถ้อยคำบางคำในมาตราต่าง ๆ ดังที่ปรากฏในบัญชีท้าย พระราชบัญญัตินี้เป็น "ตามที่รัฐมนตรีกำหนดในกฎกระทรวง" ทุกแห่ง
|
|
2483
- 2484
|
เกิดสงครามอินโดจีน
ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส
|
ซึ่งทำให้ลัทธิชาตินิยมแพร่หลายมากขึ้น
ญี่ปุ่นได้เข้ามาไกล่เกลี่ยและลงนามในอนุสัญญาสันติภาพเมื่อ 9
พ.ค.2488
|
|
8
ธ.ค. 2484
|
ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่ประเทศไทย
|
และยื่นคำขาดขอยกทัพผ่านแดนไปพม่า
คณะรัฐมนตรียินยอมตามข้อเสนอ
นายปรีดีลาออกจากรัฐมนตรีและได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
|
|
2485
- 2488
|
เกิดสงครามโลกครั้งที่
2
ส.ค.
2488 ญี่ปุ่นยอมแพ้สงคราม
นายทวี
บุณยเกตุ ได้รับเลือกเป็นนายกแทนนายควง ส่วนหลวงพิบูลฯ
ถูกจับในข้อหาเป็นอาชญากรสงคราม
|
25
ม.ค.2485 ไทยประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกา
|
|
2490
|
8 พ.ย.2490 รัฐประหารโดย พล.ท.ผิน
ชุณหะวัณ พล.อ.ท.หลวงกาจ สงคราม, พล.ต.สฤษดิ์ ธนะรัชต์, พล.ต.ต.เผ่า
ศรียานนท์
|
อ้างประเทศตกอยู่ในภาวะวิกฤตกาล ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเพราะขาดแคลนอาหาร
ขาดเครื่องนุ่งห่ม สินค้าอุปโภค บริโภค มีราคาสูงมากเป็นเหตุให้เกิดความเสื่อมโทรมอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
|
|
2490
|
พ.ร.บ.ศุลกากร
(ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2490
[รก.2490 / 2 / 10 / 7 มกราคม
2490]
|
พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์(2489-2490)
|
แก้ไขอัตราโทษตาม
ม.27
|
2490
|
พ.ร.บ.
ให้อำนาจทหารเรือปราบปรามการกระทำความผิดบางอย่างทางทะเล พ.ศ. 2490
|
||
2494
|
พ.ร.บ. การท่าเรือแห่งประเทศไทย
พ.ศ. 2494
|
จอมพล
ป.พิบูลสงคราม(2491-2500)
และนายพจน์ สารสิน(2500)
|
|
2494-2504
|
ระยะเปลี่ยนแปลง
(2494 – 2504)
เริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2504 -2509
|
ได้รับอิทธิพลจากโลกทัศน์ของนักเศรษฐศาสตร์ การพัฒนาซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางในขณะนั้นว่า การพัฒนาคือการพัฒนาเศรษฐกิจ ที่เน้นเฉพาะด้านเศรษฐกิจเป็นสำคัญ โดยเฉพาะการลงทุนในสิ่งก่อสร้างขั้นพื้นฐานในรูปแบบของระบบคมนาคมและขนส่ง ระบบเขื่อนเพื่อการชลประทานและพลังงานไฟฟ้าสาธารณูปการ ฯลฯ | |
2497
|
พ.ร.บ.
ศุลกากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2497
[รก.2497 / 15 / 357 / 2 มีนาคม 2497]
|
หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ 1.เพิ่มอัตราโทษปรับให้สูงขึ้นสิบเท่าของอัตราโทษเดิม 2.อายุความการตกเป็นของแผ่นดิน 3.มอบอำนาจให้พนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับ 4.คดีที่ราคาของกลางรวมค่าอากรเกินกว่า 40,000 บาทให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการ 5.กำหนดจ่ายเงินสินบน 6.การบันทึกข้อเท็จจริงที่ได้พบเห็นการกระทำผิดต่อกฎหมายแล้วเสนอต่อศาล ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เป็นความจริง 7.สมควรกำหนดเขตควบคุมศุลกากรและกำหนดเขตควบคุมศุลกากรพิเศษ |
|
2499
|
พ.ร.บ. ศุลกากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2499
[รก.2500 / 8 / 258 / 22 มกราคม
2500]
|
หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้
1.
เพิ่มมาตรา 19 ทวิ คืนอากรแก่ของที่นำเข้าผลิตส่งออก 7 ใน 8 ส่วน
เพื่อส่งเสริมการประกอบกิจการอุตสาหกรรมภายในประเทศ
2.
เพิ่ม ม.27 ทวิ ลงโทษผู้รับซื้อของลักลอบ
|
|
2501
|
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 31 ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501 [รก.2501 / 101 / 5พ. / 29 พฤศจิกายน 2501] “บรรดาเครื่องจักรและวัตถุที่นำเข้ามาจากต่างประเทศอัน พึงได้รับการงดหรือลดอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมอุตสาหกรรมนั้น ให้อธิบดีกรมศุลกากรมีอำนาจผ่อนผันส่งมอบไปได้ โดยถือเอาการค้ำประกันของธนาคารที่เชื่อถือได้แทนการวางเงินเป็นประกันเงินอากร ที่พึงเรียกเก็บตามความในมาตรา 13 แห่งพ.ร.บ. ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482” |
พลโท
ถนอม กิตติขจร(2501)
|
โดยที่คณะปฏิวัติเห็นเป็นการจำเป็นที่ จะส่งเสริมให้มีการลงทุนในกิจการอุตสาหกรรมใน ประเทศอันจะเป็นผลให้ประเทศไทยสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ได้เอง เพื่อความประสงค์นี้ เป็นการสมควรที่จะจัดให้มีการผ่อนผันให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมได้ใช้บรรดา เครื่องจักรและวัตถุที่นำเข้ามาจากต่าง ประเทศได้โดยไม่ต้องวางเงินประกันเงินอากรที่พึงเรียกเก็บแก่สิ่งของเหล่านั้นตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
|
2501
|
ลงนามในอนุสัญญาเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล
ค.ศ.1958 จำนวน 4 ฉบับ และได้ให้สัตยาบันเมื่อ 2511
|
พลโท
ถนอม กิตติขจร(2501)
|
|
2504-2514
|
ระยะพัฒนาสู่ความสมดุลย์
|
||
2506
|
กรมศุลกากรได้ปรับปรุงรหัสสินค้า
|
ใน พ.ศ.2506 กรมศุลกากรได้ปรับปรุงรหัสสินค้าของไทย ทั้งนี้เนื่องจากองค์การสหประชาชาติได้ปรับปรุงรหัสสินค้าเพื่อนำมารวบรวมสถิติสินค้าเข้าออกของนานาประเทศ
ซึ่งในปีเดียวกันนี้ กรมศุลกากรได้เสนอคณะรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลังแต่งตั้งคณะกรรมการพิกัดอัตราศุลกากร
ให้ทำหน้าที่กำหนดหรือปรับปรุงแก้ไขพิกัดอัตราศุลกากร
|
|
2510 – 2514
|
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่
2 พ.ศ.2510 - 2514
|
ยังเน้นการขยายอัตราความเจริญทางเศรษฐกิจ
เป็นหลัก แต่ได้เริ่มพูดถึงความสำคัญของการ กระจายความเจริญไปสู่ส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะ อย่างยิ่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
|
2512
|
ประกาศใช้อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1958 เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ.2512 รวม 4 ฉบับคือ (1) อนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง (2) อนุสัญญาว่าด้วยทะเลหลวง (3) อนุสัญญาว่าด้วยการประมงและการอนุรักษ์ทรัพยากรมีชีวิตในทะเลหลวง (4) อนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งมีผลใช้บังคับสำหรับประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2511 เป็นต้นไป |
พลโท
ถนอม กิตติขจร(2501)
|
|
2514
เป็นต้นไป
|
ระยะพุ่งตัวของผลผลิตนอกสาขาเกษตร
|
||
2515
- 2519
|
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่
3 พ.ศ.2515-2519
|
แนวทางการพัฒนา เสริมการส่งออก, ปรับปรุงโครงสร้างการนำเข้า
ปรับปรุงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและยกระดับการผลิต เร่งรัดการส่งออกและทดแทนสินค้านำเข้า
|
|
2515
|
ประกาศของคณะปฏิวัติ
ฉบับที่ 329 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2515
[รก.2515 / 190 / 142พ. / 13 ธันวาคม
2515]
|
พลโท
ถนอม กิตติขจร(2506-2516)
|
โดยที่คณะปฏิวัติพิจารณาเห็นว่า
บทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยศุลกากรยังไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น สะดวกแก่การปฏิบัติและช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมสินค้าขาออก หัวหน้าคณะปฏิวัติจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
(แก้ไข ม.19 ให้คืนอากรได้ 9 ใน 10 ส่วนและ ม.19 ทวิ ให้คืนอากรทั้งหมด และเพิ่ม
ม.19 ตรี ให้รับการค้ำประกันของธนาคาร)
|
2520-2524
|
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่
4 พ.ศ.2520-2524
|
แนวทางการพัฒนา เน้นการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศโดยมุ่งขยายการผลิตสาขาเกษตร, ปรับปรุงโครงสร้างอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อส่ง
ออก |
|
2521
|
พ.ร.บ
ส่งเสริมการพาณิชณยนาวี 2521
|
พลเอกเกรียงศักดิ์
ชมะนันทน์(2520-2523)
|
|
2525
- 2529
|
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่
5 พ.ศ.2525-2529
|
แนวทางการพัฒนา เน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพ ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจต่าง
ๆ เช่น ปรับโครงสร้างการเกษตร ปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกและกระจายอุตสาหกรรมไปสู่ส่วนภูมิภาค
|
|
2528
|
พ.ร.ก.
แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469
พ.ศ. 2528
[รก.2528 / 41 / 197พ. / 4 เมษายน 2528]
|
พลเอกเปรม
ติณสูลานนท์ (2523-2531)
|
หมายเหตุ: เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้
คือ
เนื่องจากได้มีการปรับปรุงแก้ไขโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรโดยออกเป็นพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ 45) พ.ศ. 2528 ในการนี้เห็นสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติศุลกากร เพื่อให้มีคณะกรรมการวินิจฉัยอากรศุลกากรในทำนองเดียวกับคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร เพื่อให้การพิจารณาดำเนินการจัดเก็บภาษีอากรมีประสิทธิภาพและเกิดความเป็นธรรมยิ่งขึ้น และโดยที่เป็นกฎหมายที่เกี่ยวเนื่องกับพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ 45) พ.ศ. 2528 ดังกล่าว
ซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนในอันที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้
|
2529-2533
|
ยุคเศรษฐกิจเฟื่องฟู
(2529-2533)
|
||
2530
- 2534
|
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่
6 พ.ศ.2530 - 2534
|
เน้นวัตถุประสงค์ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม
|
|
2530
|
ปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร
|
ในปี พ.ศ.2530 ได้มีการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร
โดยพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 พิกัดอัตราศุลกากรนี้ได้ใช้ระบบจำแนกประเภทสินค้าและรหัสประเภทพิกัดของคณะมนตรีความร่วมมือทางศุลกากร
ที่เรียกว่า ระบบ ฮาร์โมไนซ์ (Harinonized System) โดยเริ่มใช้ตั้งแต่
พ.ศ. 2531
|
|
2534-3539
|
ยุคเศรษฐกิจชะลอตัว
(2534-2539)
|
||
2534
|
พ.ร.บ. การกักเรือ พ.ศ. 2534
|
พลเอกชาติชาย ชุณหะวัน(2531-2534)
|
|
2534
|
พ.ร.บ.
การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534
ยกร่างตั้งแต่ปี
2528
|
นายอานันท์ ปันยารชุน(2534-2535)
|
|
2534
|
พ.ร.บ.
ศุลกากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2534
[รก.2534 / 240 / 77พ. / 29 ธันวาคม 2534]
|
เพิ่ม
ม. 6(6) สินค้าอันตราย
ม.
61 สินค้าอันตรายตกค้าง
เพิ่ม
ม. 63 ทวิ สั่งให้นำสินค้าอันตรายกลับออกไป
|
หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่ในปัจจุบันได้มีการนำสินค้าจำพวกเคมีภัณฑ์ สิ่งมีพิษ
หรือสิ่งที่เป็นอันตรายอย่างอื่น
เข้ามาในราชอาณาจักรและนำมาเก็บรักษาไว้ในเขตศุลกากรเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจเกิดอันตรายหรือความเสียหายต่อบุคคล สัตว์
พืช ทรัพย์สิน หรือสิ่งแวดล้อมขึ้นได้ สมควรกำหนดวิธีการเก็บภาษีอากรสำหรับสินค้าอันตรายตลอดจนเงื่อนไขในการขนถ่าย การเก็บรักษาสินค้า และการนำสินค้าออกไปจากเขตศุลกากรขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อให้มีการนำสินค้าเหล่านั้นออกไปจากเขตศุลกากรได้โดยรวดเร็วและเหมาะสม กับสถานที่เก็บรักษาสินค้าดังกล่าว นอกจากนี้ สมควรกำหนดมาตรการดำเนินการกับของตกค้างที่เป็นสินค้าอันตรายและของเสียและเรือที่นำของดังกล่าวเข้ามาในราชอาณาจักร
ให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
|
2535
- 2539
|
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่
7 พ.ศ.2535 - 2539
|
เริ่มมองเห็นความจำเป็นในการกำหนดแนวความคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development)
|
|
2537
|
พ.ร.บ.
การจำนองเรือและบุริมสิทธิทางทะเล พ.ศ. 2537
|
นายชวน
หลีกภัย (2535-2543)
|
|
2540-2542
|
ยุค
IMF(2540 – 2542)
|
||
2540
- 2544
|
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่
8 พ.ศ.2540 - 2544
|
ปรับแนวคิดการพัฒนาจากเดิมที่เน้นเศรษฐกิจมาเป็นการเน้นคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา
|
|
2540
|
พ.ร.บ.
ศุลกากร (ฉบับที่ 15) พ.ศ. 2540
[รก.2540 / 72ก / 20 / 16 พฤศจิกายน
2540]
|
นายชวน
หลีกภัย (2535-2543)
ม.20
ทวิ ความผิดที่เกิดขึ้นในทะเลอาณาเขตส่งผู้ต้องหาในท้องที่ใดให้พนักงานสอบสวนรับผิดชอบ
หมวด
4 ทวิ อำนาจศุลกากรในเขตต่อเนื่อง ม.37ทวิ - เบญจ
|
หมายเหตุ:- โดยที่เป็นการสมควรกำหนด การสอบสวนความผิดตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรที่เกิดในทะเลอาณาเขต และเนื่องจากได้มีประกาศพระบรมราชโองการกำหนดเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทย สมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติศุลกากร พระพุทธศักราช 2469 เพื่อกำหนดการใช้อำนาจทางศุลกากรในเขตต่อเนื่องให้ชัดเจนด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ |
2542
|
พ.ร.บ.
ศุลกากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2542
[รก.2542 / 118ก / 36 / 25 พฤศจิกายน 2542]
|
นายชวน
หลีกภัย (2535-2543)
|
หมายเหตุ:-
โดยที่เป็นการสมควรเพิ่มมาตรการบางประการเพื่อให้การปราบปรามการหลีกเลี่ยงภาษีตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรบรรลุผลยิ่งขึ้น
สมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติศุลกากร พระพุทธศักราช 2469 เพื่อกำหนดความผิดสำหรับการขนถ่ายสิ่งของใด ๆ ในทะเลนอกเขตท่า (ม.37จัตวา) และเพิ่มอำนาจของศาลในการริบเรือที่มีขนาดเกินสองร้อยห้าสิบตัน
(ม.32 วรรค 2) และของที่มิได้เป็นของผู้กระทำความผิดในบางกรณี จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ (ม.32
ทวิ)
|
2543
|
พ.ร.บ.
ศุลกากร (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2543
[รก.2543 / 17ก / 1 / 8 มีนาคม 2543]
|
นายชวน
หลีกภัย (2535-2543)
|
หมายเหตุ:- 1. เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 7 ของความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า 1994 จึงต้องยกเลิกการใช้ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเป็นเกณฑ์ประเมินเงินอากรสำหรับของนำเข้าโดยให้ใช้ราคาศุลกากรแทน 2. กำหนดให้มีคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และกระบวนการในการพิจารณาอุทธรณ์ 3. สมควรกำหนดให้บุคคลซึ่งเกี่ยวข้องกับการนำของเข้าหรือส่งของออก มีหน้าที่เก็บรักษบัญชี เอกสาร หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการนำของเข้าหรือส่งของออกเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ |
2543
|
พ.ร.บ.
ศุลกากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2543
[รก.2543 / 108ก / 1 / 17 พฤศจิกายน 2543]
|
นายชวน
หลีกภัย (2535-2543)
เขตปลอดอากร
|
การค้าขายระหว่างประเทศได้มีการแข่งขันกันอย่างมาก การสนับสนุนและส่งเสริมการส่งออก จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นการเพิ่มขีด ความสามารถในการแข่งขันกับประเทศต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้จึงสมควรกำหนดให้มีการจัดตั้งเขตปลอดอากรขึ้นในประเทศไทย เพื่อผลิต ผสม ประกอบ บรรจุหรือดำเนินการอื่นใดกับสินค้านั้นเพื่อส่งออกไปนอกราชอาณาจักร |
2545
- 2549
|
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่
9 พ.ศ.2545 - 2549
|
ได้อัญเชิญแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
มาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาและบริหารประเทศโดยยึดหลักทางสายกลาง
เพื่อให้ประเทศรอดพ้นจากวิกฤต
สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง และนำไปสู่การพัฒนาที่สมดุล
มีคุณภาพและยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงต่างๆ
โดยมี วัตถุประสงค์
(๑) เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพและมีภูมิคุ้มกัน
(๒)เพื่อวางรากฐานการพัฒนาประเทศให้เข้มแข็ง
ยั่งยืน สามารถพึ่ง
ตนเองได้อย่างรู้เท่าทันโลก
(๓)เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่ดีในสังคมไทยทุกระดับ
(๔)เพื่อแก้ปัญหาความยากจนและเพิ่มศักยภาพและโอกาสของคนไทยในการพึ่งพาตนเอง
|
|
2548
|
พ.ร.บ.
ศุลกากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2548
ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม 122/ตอนที่ 4 ก/หน้า 1/13 มกราคม 25
|
สมัยรัฐบาลพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
|
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงอัตรา โทษปรับสำหรับความผิดทุกฐานตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรให้สูงขึ้น เนื่องจากอัตราโทษปรับที่กำหนดไว้ในกฎหมายได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน และเมื่อเปรียบเทียบกับค่าของเงินในปัจจุบันแล้วเป็นจำนวนเงินที่ต่ำ จึงจำเป็นต้องปรับปรุงอัตราโทษปรับเสียใหม่ให้เหมาะสมกับค่าของเงินตามสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน เพื่อให้การลงโทษตามกฎหมายดังกล่าวมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในเรื่องอื่น ๆ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้นในคราวเดียวกันดังนี้คือ กำหนดกรณีของกลางที่ได้ ถูกยึดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรให้ตกเป็นของแผ่นดินหากเจ้าของหรือผู้มีสิทธิไม่มายื่นคำร้องเรียกเอาคืน โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าจะมีการฟ้องร้องคดีอาญาหรือไม่ กำหนดลักษณะของที่เกี่ยวข้องกับความผิดตามมาตรา ๒๗ และมาตรา ๒๗ ทวิ ให้สอดคล้องกัน กำหนดอำนาจของอธิบดีในการจำหน่ายของสดของเสียที่บูดเน่าได้ แก้ไขอำนาจของคณะกรรมการเปรียบเทียบให้มีอำนาจเปรียบเทียบการกระทำความผิดในกรณีที่ของกลางมีมูลค่ารวมกันเกินกว่าสี่แสนบาท กับให้มีอำนาจเปรียบเทียบสำหรับความผิดฐาน ฝ่าฝืนบทบัญญัติเรื่องทางอนุมัติ เฉพาะคราวเพิ่มขึ้น กำหนดให้การ ฝ่าฝืนบทบัญญัติเรื่องการขนส่งของตามทางอนุมัติเฉพาะคราวเป็นความผิด และต้องระวางโทษอย่างเดียวกับกรณีของการขนส่งของตามทางอนุมัติ รวมทั้งการริบของที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดในกรณีดังกล่าวด้วย และกำหนดอำนาจในการออกกฎกระทรวงของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ๙) พุทธศักราช ๒๔๘๒ เพื่อให้การใช้บังคับและการปฏิบัติการตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้สมควรยกเลิก บทบัญญัติเกี่ยวกับศาลกงสุลต่างประเทศเนื่องจากศาลดังกล่าวได้ถูกยกเลิกแล้ว และยกเลิกบทบัญญัติที่กำหนดให้การส่งออกข้าวและรำต้องบรรจุกระสอบเท่านั้นด้วย เพื่อให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ |
2548
|
พ.ร.บ.
ศุลกากร (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2548
ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม 122/ตอนที่ 4 ก/หน้า 8/13 มกราคม
2548
|
สมัยรัฐบาลพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
|
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ได้มีการลงนามในบันทึกความ เข้าใจระหว่างราชอาณาจักรไทยและมาเลเซียเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรร่วมเพื่อแสวงประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นดินใต้ทะเลในบริเวณที่กำหนดของไหล่ทวีปของประเทศทั้งสองในอ่าวไทย ลงวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๒ และในความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งมาเลเซียว่าด้วยธรรมนูญและเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดตั้งองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย ลงวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ซึ่งรัฐสภาได้ให้ความเห็นชอบแล้วเพื่อให้การปฏิบัติการเป็นไปตามบันทึกความเข้าใจและความตกลงดังกล่าวในเรื่องเกี่ยวกับอำนาจทางศุลกากร จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ |
2550
- 2554
|
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่
10 พ.ศ.2550 - 2554
|
ยึดหลักการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ลดความเหลื่อมล้าและขับเคลื่อนการเจริญเติบโตจากการเพิ่มผลิตภาพการผลิตบนฐานการใช้ภูมิปัญญาและนวัตกรรม
|
|
2555
- 2559
|
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่
11 พ.ศ.2555 - 2559
|
ยังคงยึดหลัก
“ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
และ “คนเป็นศูนย์กลางของ การพัฒนา” รวมทั้ง “สร้างสมดุลการพัฒนา” ในทุกมิติ
|
|
2557
|
พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ๒๑) พ.ศ. ๒๕๕๗
|
“การผ่านแดน
ถ่ายลำ และการใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในการศุลกากร”
สมัยรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
|
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้
คือ โดยที่กฎหมายว่าด้วยศุลกากรยังไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์การนำของเข้าเพื่อการผ่านแดนหรือการถ่ายลำออกนอกราชอาณาจักร
ทำให้การศุลกากรของประเทศไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากลและยังไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยพิธีการศุลกากรที่เรียบง่ายและสอดคล้องกัน
(The International Convention on the Simplification and
Harmonization of Customs Procedures) และเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการในการประเมินค่าภาษีและการเสียภาษี
สมควรกำหนดหลักเกณฑ์การนำของเข้าเพื่อการผ่านแดนหรือการถ่ายลำออกนอกราชอาณาจักร และการยื่นคำร้องขอต่ออธิบดีกรมศุลกากรเพื่อพิจารณากำหนดราคาของของนำเข้า
กำหนดถิ่นกำเนิดของของที่จะนำเข้า และตีความพิกัดอัตราศุลกากรเพื่อจำแนกประเภทของของในพิกัดอัตราศุลกากรตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากรเป็นการล่วงหน้า
ก่อนที่จะนำของเข้ามาในราชอาณาจักรลอดจนกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการนำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการศุลกากรได้
จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
|
2557
|
พระราชบัญญัติศุลกากร
(ฉบับที่ ๒๒) พ.ศ. ๒๕๕๗
|
“อำนาจทางศุลกากรในพื้นที่ควบคุมร่วมกัน”
สมัยรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
|
หมายเหตุ เหตุผลในการประกาศใช้ พ.ร.บ. ฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการทำความตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกในการขนส่งข้ามพรมแดน เพื่อวางกรอบความร่วมมือของเจ้าหน้าที่ของประเทศภาคีตามความตกลงในการดำเนินพิธีการในการขนส่งข้ามพรมแดนร่วมกันและพร้อมกันในพื้นที่เดียวกัน แต่การดำเนินพิธีการศุลกากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรยังไม่ครอบคลุมถึงการดำเนินพิธีการศุลกากรในพื้นที่ควบคุมร่วมกัน ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ อำนวยความสะดวกในการขนส่งข้ามพรมแดนและเป็นการปฏิบัติตามพันธกรณีตามความตกลงดังกล่าว สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยศุลกากรเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ในการดำเนินพิธีการศุลกากรในพื้นที่ดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ |
2560
- 2564
|
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 12 พ.ศ.2560 - 2564
|
ยึดหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
“การพัฒนาที่ยั่งยืน” และ “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา”
|
Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่งคั่ง
มั่นคง และยั่งยืน
|
2560
|
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. ๒๕๖๐
|
สมัยรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
|
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่พระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช ๒๔๖๙
ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานและมีบทบัญญัติบางเรื่องล้าสมัยหรือไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
อีกทั้งยังมีการตรากฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติดังกล่าวหลายฉบับ
ทำให้เกิดความไม่สะดวกในการใช้บังคับกฎหมายประกอบกับการค้าและการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศได้พัฒนาและขยายตัวมากขึ้น
ทำให้มีความจำเป็นต้องปรับปรุงการดำเนินพิธีการศุลกากรและการดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล
อันจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
สมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยศุลกากร จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
|
2561 | ร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่..) พ.ศ. .... |
กรมศุลกากร อยู่ระหว่างเสนอแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. ๒๕๖๐ | สภาพปัญหาและสาเหตุของปัญหา ภายหลังมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. ๒๕๖๐ กรมศุลกากรได้จัดให้มี การรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ของพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. ๒๕๖๐ ตามมาตรา ๗๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ และได้นำผลการรับฟังความคิดเห็นดังกล่าวมาประกอบการพิจารณา พบว่ามีปัญหาที่สำคัญในการบังคับใช้กฎหมาย กล่าวคือ ไม่มีบทบัญญัติ ให้อำนาจอธิบดีไว้อย่างชัดเจน ในการกำหนดระเบียบการกักของ การขายทอดตลาด และการหักใช้เงินจากการขายทอดตลาด การกำหนดระเบียบการยึดและการขายทอดตลาดทรัพย์สิน การกำหนดหลักเกณฑ์ในการสืบทรัพย์ของ ผู้ค้างชำระอากร การกำหนดหลักเกณฑ์เรื่องการยื่นทุเลาการเสียอากรและการพิจารณาทุเลาการเสียอากร และการกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้ครอบคลุมถึงการดำเนินพิธีการศุลกากรอื่น นอกจากนี้ การกำหนดระยะเวลา การประเมินอากร ความรับผิดในการเสียอากรสำหรับการนำของเข้าหรือส่งของออกทางบก และของตกค้าง ยังมีความไม่ชัดเจน รวมทั้งไม่มีบทบัญญัติกำหนดการขยายระยะเวลาในการนำของผ่านแดนหรือถ่ายลำออกไปนอกราชอาณาจักร การดำเนินการกับของผ่านแดนหรือถ่ายลำที่ตกเป็นของแผ่นดิน การกำหนดให้โรงพักสินค้าหรือที่มั่นคงเป็นสถานที่สำหรับตรวจ เก็บ หรือตรวจปล่อย ของผ่านแดนหรือถ่ายลำ และของที่กฎหมายกำหนดให้ได้รับยกเว้นหรือคืนอากรเมื่อส่งออกไปนอกราชอาณาจักร หากนำเข้าไปในคลังสินค้าทัณฑ์บน ตามมาตรา ๑๑๖(๑) จะไม่ได้รับการยกเว้นหรือคืนอากรเช่นเดียวกับคลังสินค้าทัณฑ์บนตามมาตรา ๑๑๖ (๒) หรือ (๓) ตลอดจนบทกำหนดโทษที่ไม่เหมาะสม ซึ่งจากสภาพปัญหาที่กล่าวมา จึงส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการบังคับใช้พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. ๒๕๖๐ |
อ่านบทความที่เกียวข้องย้อนหลัง
ดร.สงบ
สิทธิเดช
Dr.Sangob
Sittidech
LL.B.,
M.A., D.P.A.