วันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ปฏิทินลำดับเหตุการณ์กฎหมายศุลกากรจากปี 2469 ถึงปี 2560

ลำดับเหตุการ์กฎหมายศุลกากรจากอดีตปี 2469 สู่ฉบับปัจจุบันปี 2560
โดย ดร.สงบ สิทธิเดช

ปี พ.ศ.
เหตุการณ์ทางศุลกากร
เหตุการณ์ทางการเมือง
เหตุผลในการแก้ไขกฎหมาย
สมัยสุโขทัย 2494
ระยะเกษตรกรรม


2398
หลังสนธิสัญญาบาวนิ่ง พ.ศ. 2398 มีผลใช้บังคับ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 (.. 2394 - 2411) เป็นช่วงที่ยุโรปแข่งขันกันล่าอาณานิคม  ด้วยเหตุผลทางการเมือง ร4 จึงพยายามโอนอ่อนผ่อนตามข้อเสนอของประเทศตะวันตกและยอมเซ็นสนธิสัญญาบาวนิ่ง (Bowring Treaty) ในปี 2398

2399 เป็นการรื้อโครงสร้างทางการค้าและการคลังของไทยที่ทำมาก่อนนี้อย่างช้านาน   รัฐบาลต้องสูญเสียเสรีภาพทางการค้า  และต้องขาดรายได้อย่างมหาศาลจากระบบการผูกขาดการค้าและการจัดเก็บถาษีที่ทำมาตั้งแต่สมัยอยุธยา   อย่างไรก็ตามนับเป็นก้าวแรกของการเปิดประตูการค้ากับต่างประเทศอย่างเสรี  ผลของสนธสัญญาฯทำให้ประเทศอื่นๆส่งฑูตเข้ามาขอเจรจาทำสนธิสัญญาทางการค้าลักษณะเดียวกันนี้
2426-2431
คำว่า ศุลกากร  ได้เริ่มมีใช้เป็นครั้งแรก
เจ้าพระยาภาศกรวงศ์เป็นผู้คิดขึ้นเพื่อหาตรงกับคำว่า Customs ในภาษาอังกฤษ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 (.. 2411 - 2453)

2452
ยกร่างกฎหมายศุลกากร

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 (.. 2453 - 2468)
พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าพร้อมพงษ์อธิราช ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดี  และ มร.วิลเลียมนันท์เป็นที่ปรึกษาศุลกากร ทางการได้จัดร่างกฎหมายวางระเบียบวิธีการศุลกากรขึ้นฉบับหนึ่ง เรียกว่า ร่างข้อบังคับการค้าและศุลกากร (TRADE AND CUSTOMS REGULATION)  โดยอาศัยตามหลักกฎหมายอังกฤษเป็นแบบฉบับ(CUSTOMS CONSOLIDATION ACT 1879)    แล้วส่งร่างข้อบังคับทางการค้าดังกล่าว [DRAFT OF PROPOSED TRADE AND CUSTOMS REGULATIONS FOR THE KINGDOM OF SIAM, R.S. 128 (1909)] ไปให้นานาประเทศที่มีสัญญาทางพระราชไมตรีกับประเทศไทย พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน 
2456
พ.ร.บ. การเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456  ยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทยที่ได้ตราขึ้นไว้เมื่อวันที่  25 มิถุนายน รศ. 124 (2448)
ในช่วงรัชกาลที่  6

2457-2461
เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1
 ประเทศไทยได้ประกาศสงครามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460  
ในช่วงรัชกาลที่ 6

2461 
สงครามโลกสิ้นสุดลง
ประเทศไทยถือโอกาสเจรจายกเลิกสัญญาที่ไม่เป็นธรรมกับนานาประเทศ ซึ่งได้ทำไว้ตั้งแต่ครั้งสนธิสัญญาบาวริง  โดยเฉพาะในเรื่องพิกัดศุลกากรซึ่งเดิมเราจะเก็บภาษีศุลกากรเกินกว่าร้อยชักสามไม่ได้ 
ในช่วงรัชกาลที่ 6

2469
ประกาศใช้ พ.ร.บ. ศุลกากร พ.. 2469  ประกาศในราชกิจจานุเบกษา  เล่มที่ 43 หน้า 272 วันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2469
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
 รัชกาลที่ 7 (.. 2468 - 2477)
พระราชปรารภ  โดยที่ทรงพระราชดำริเห็นว่าวิธีจัดและปฏิบัติการของกรมศุลกากรนั้นสมควรจะกำหนดไว้ให้เป็นระเบียบสืบไป
2469
ประกาศใช้พระราชบัญญัติพิกัดอัตราศุลกากรฉบับปฐมฤกษ์ ประกาศอีกครั้ง พ.ร.บ.พิกัดอัตราศุลกากร พ.. 2478   

ประเทศไทยได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติพิกัดอัตราศุลกากรฉบับปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2469 ปีเดียวกันนี้ด้วย ต่อมาได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างสลับซับซ้อนรวม 11 ครั้ง ทางราชการจึงได้ทำสังคายนายกร่างขึ้นใหม่เป็น พ.ร.บ. พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2478 และได้แก้ไขให้สอดคล้องกับระบบราคาของ BDV (Brussels Definition of Value) ซึ่งใช้การจำแนกประเภทสินค้าตามแบบ CCCN (Customs Co-operation Council Nomenclature) โดยออกเป็น พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 และก็ได้มีการแก้ไขหลายครั้งจนถึงครั้งที่ 57 เป็น พ.ร.ก. พิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ 45) พ.ศ. 2528 ซึ่งเป็นฉบับสุดท้าย จึงได้ถูกยกเลิกทั้งหมดและให้นำ พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 มาใช้แทน เนื่องจากฉบับของ CCCN ล้าสมัย ขาดรายละเอียดและความชัดแจ้ง ซึ่งเป็นผลเสียแก่การค้า การอุตสาหกรรมและการลงทุนของประเทศ จึงได้ปรับปรุงพระราชกำหนดดังกล่าวเสียใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยนำหลักการและโครงสร้างการจำแนกประเภทพิกัดสินค้า ซึ่งเรียกว่าระบบฮาร์โมไนซ์ (Harmonized System) อันเป็นระบบที่ชัดแจ้งกว่ามาใช้แทน
2471
พ.ร.บ. ศุลกากรแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1)  พ.ศ.2471   [รก.2471 / - / 22 / 15  เมษายน  2471]
ในช่วงรัชกาลที่ 7
แก้ไข ม.10,88
2472
พ.ร.บ. ศุลกากรแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)
 พ.ศ. 2472  [รก.2472 / - / 335 / 9  กุมภาพันธ์   2472]
ในช่วงรัชกาลที่ 7
เปลี่ยนแบบใบขนสินค้าขาเข้าตาม ม.42 เพื่อแก้ไขสถิติพยากรณ์ศุลกากรเพื่อแสดงเมืองกำเนิดของสินค้าขาเข้าที่ส่งมาจากสิงคโปร์และฮ่องกง 
2474
พ.ร.บ. ศุลกากรแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3)
 พ.ศ.2474  [รก.2474 / - / 560 / 4  กุมภาพันธ์  2474]
ในช่วงรัชกาลที่ 7
ม.7 ก, 8, 49, 50, 68, 69                 
2475
พ.ร.บ.ศุลกากรแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2475    [รก.2475 / - / 88 / 28   เมษายน   2475]

ในช่วงรัชกาลที่ 7 คณะราษฎรทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิ.ย.2475 และประกาศใช้ พ.ร.บ.ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475         พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
(2475-2476)
ม.3  ยกเลิกและใช้ใบแนบ 4(จ) อัตราค่าธรรมเนียมสำหรับรายงานฯลฯ     และได้ถูกยกเลิกโดยฉบับที่ 10 พ.ศ. 2483          
2478
พ.ร.บ.พิกัดอัตราศุลกากร พ.. 2478 
[รก.2478 / - / 52 / 21 มีนาคม  2478]
พันเอกพระยาพหล พลพยุหเสนา(2476-2481)
ในระหว่างที่พระวรวงค์เธอพระองค์เจ้าวิวัฒนไชยทรงดำรงตำแหน่งเป็นอธิบดีกรมศุลกากร (พ.ศ. 2478 - 2481) ได้ทรงปรับปรุงงานด้านศุลกากรเพื่อให้เป็นกรมที่มีประสิทธิภาพและทันสมัย ผลงานสำคัญคือ การตราพระราชบัญญัติพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2478 เปลี่ยนการเก็บภาษีศุลกากรจากหลักการเก็บตามราคามาเป็นตามสภาพ นับเป็นแม่บทในการเรียกเก็บภาษีอากรของไทยตามแบบอารยประเทศ และยังได้ขยายประเภทของสินค้าที่ต้องเสียภาษีจาก 30-40 ประเภท
2479
พ.ร.บ.พิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ 2) พ.. 2479
[รก.2479 / - / 53 / 27 มีนาคม  2479]

ม. 7-8 หลักเกณฑ์การตีความ
2479
พ.ร.บ. ศุลกากร (ฉบับที่ 6) พ.ศ.  2479
 [รก.2480 / - / 188 / 26  เมษายน   2480]

แก้ไขเพิ่มเติมคำว่า พนักงานศุลกากรและ "พนักงาน”  
2480
พ.ร.บ. การเดินอากาศ พ.ศ. 2480,  (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2490, พ.ศ.2492 ยกเลิกโดย พ.ร.บ. การเดินอากาศ พ.ศ. 2497


2480
พ.ร.บ. ศุลกากร (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2480 [รก.2481 / - / 54 / 25   เมษายน  2481]


ข้อความขึ้นต้นในการตรากฎหมาย โดยที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติว่า สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยศุลกากรที่เกี่ยวกับเรื่องการนำของเข้าหรือการส่งของออก
2480
พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2480
การนำของเข้าหรือส่งของออกทางอากาศ
มีผลใช้เมื่อพ้น 6 เดือน ใน ร.จ. 25/04/81

เนื้อหาทั้งฉบับจะว่าด้วยเรื่องการนำของเข้าหรือส่งของออกทางอากาศยาน
2481
ประมวลข้อบังคับศุลกากร พ..2481
 โดยพระวรวงค์เธอพระองค์เจ้าวิวัฒนไชยทรงดำรงตำแหน่งเป็นอธิบดีกรมศุลกากร
เมื่อนายปรีดี พนมยงค์ ได้ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (พ.ศ.2481-2484) ได้แถลงนโยบายต่อสภาผู้แทนราษฎรข้อหนึ่งว่า "จะจัดการปรับปรุงภาษีอากรให้ยุติธรรมแก่สังคม" จึงได้มีการปรับปรุงระบบการภาษีอากรครั้งใหญ่ โดยการออกพระราชบัญญัติประมวลรัษฎากร ประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2482 ได้ยกเลิกกฎหมายเก่าที่เกี่ยวกับภาษีอากรที่ล้าสมัย
พระวรวงค์เธอพระองค์เจ้าวิวัฒนไชยทรงดำรงตำแหน่งเป็นอธิบดีกรมศุลกากร (พ.ศ. 2478 - 2481) ได้ตราพระราชบัญญัติพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2478 เปลี่ยนการเก็บภาษีศุลกากรจากหลักการเก็บตามราคามาเป็นตามสภาพ       นอกจากนี้ยังทรงรับสั่งให้จัดรวบรวมประมวลคำสั่ง ระเบียบและกฎหมายต่าง ๆ ที่เจ้าพนักงานศุลกากรต้องปฏิบัติ เข้าเป็นหมวดหมู่ เป็นคู่มือของข้าราชการเรียกว่า "ประมวลข้อบังคับศุลกากร พ.ศ.2481" ซึ่งข้าราชการกรมศุลกากรได้ยึดถือเป็นคู่มือการปฏิบัติราชการตลอดมา

2481
พรบ. เรือไทย พ.ศ.2481
พันเอกหลวงพิบูลสงคราม (2481-2485)

2482
พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482
[รก.2482  / - / 1168 / 13   ตุลาคม   2482]

แก้ไข ม.11,24, 25, 27, 102, 112,
ม.15 ตัวการต้องรับผิดทางแพ่ง ,ม.16 หลักยกเว้นเรื่องเจตนา, ม.17 การริบของอันเนื่องด้วยความผิดตาม ม.27, ม.18 ของตกค้างอายุ 4 เดือน  และ ม.19 ว่าด้วยเรื่องของ Re – Export  โดยคืนอากร 7 ใน 8 ส่วน
2483
พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 10)พ.ศ. 2483
[รก.2483  / - / 747 / 29  พฤศจิกายน  2483]


แก้ไข ม.88 และม.122  ให้แก้ไขถ้อยคำบางคำในมาตราต่าง    ดังที่ปรากฏในบัญชีท้าย      พระราชบัญญัตินี้เป็น   "ตามที่รัฐมนตรีกำหนดในกฎกระทรวง  ทุกแห่ง
2483 - 2484
เกิดสงครามอินโดจีน ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส
ซึ่งทำให้ลัทธิชาตินิยมแพร่หลายมากขึ้น  ญี่ปุ่นได้เข้ามาไกล่เกลี่ยและลงนามในอนุสัญญาสันติภาพเมื่อ 9 พ.ค.2488

8 ธ.ค. 2484
ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่ประเทศไทย
และยื่นคำขาดขอยกทัพผ่านแดนไปพม่า คณะรัฐมนตรียินยอมตามข้อเสนอ  นายปรีดีลาออกจากรัฐมนตรีและได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

2485 - 2488
เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2
ส.ค. 2488 ญี่ปุ่นยอมแพ้สงคราม
นายทวี บุณยเกตุ ได้รับเลือกเป็นนายกแทนนายควง ส่วนหลวงพิบูลฯ ถูกจับในข้อหาเป็นอาชญากรสงคราม
25 ม.ค.2485 ไทยประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกา


2490
8 พ.ย.2490 รัฐประหารโดย พล.ท.ผิน  ชุณหะวัณ  พล.อ.ท.หลวงกาจ  สงคราม, พล.ต.สฤษดิ์ ธนะรัชต์, พล.ต.ต.เผ่า ศรียานนท์
อ้างประเทศตกอยู่ในภาวะวิกฤตกาล  ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเพราะขาดแคลนอาหาร ขาดเครื่องนุ่งห่ม สินค้าอุปโภค บริโภค มีราคาสูงมากเป็นเหตุให้เกิดความเสื่อมโทรมอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

2490
พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2490
[รก.2490 / 2 / 10 / มกราคม   2490]
พล.ร.ต.ถวัลย์  ธำรงนาวาสวัสดิ์(2489-2490)
แก้ไขอัตราโทษตาม ม.27
2490
พ.ร.บ. ให้อำนาจทหารเรือปราบปรามการกระทำความผิดบางอย่างทางทะเล .. 2490


2494
พ.ร.บ. การท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494
จอมพล ป.พิบูลสงคราม(2491-2500)
และนายพจน์  สารสิน(2500)

2494-2504
ระยะเปลี่ยนแปลง (2494 2504) 
เริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2504 -2509   

ได้รับอิทธิพลจากโลกทัศน์ของนักเศรษฐศาสตร์ การพัฒนาซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางในขณะนั้นว่า การพัฒนาคือการพัฒนาเศรษฐกิจ ที่เน้นเฉพาะด้านเศรษฐกิจเป็นสำคัญ โดยเฉพาะการลงทุนในสิ่งก่อสร้างขั้นพื้นฐานในรูปแบบของระบบคมนาคมและขนส่ง ระบบเขื่อนเพื่อการชลประทานและพลังงานไฟฟ้าสาธารณูปการ ฯลฯ
2497
พ.ร.บ. ศุลกากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2497
[รก.2497 / 15 / 357 / 2  มีนาคม   2497]

หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้
1.เพิ่มอัตราโทษปรับให้สูงขึ้นสิบเท่าของอัตราโทษเดิม
2.อายุความการตกเป็นของแผ่นดิน
3.มอบอำนาจให้พนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับ
4.คดีที่ราคาของกลางรวมค่าอากรเกินกว่า 40,000 บาทให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการ
5.กำหนดจ่ายเงินสินบน
6.การบันทึกข้อเท็จจริงที่ได้พบเห็นการกระทำผิดต่อกฎหมายแล้วเสนอต่อศาล ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เป็นความจริง
7.สมควรกำหนดเขตควบคุมศุลกากรและกำหนดเขตควบคุมศุลกากรพิเศษ
2499
 พ.ร.บ. ศุลกากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2499
[รก.2500 / 8 / 258 /  22   มกราคม   2500]                    

หมายเหตุ:-   เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ 
1. เพิ่มมาตรา 19 ทวิ คืนอากรแก่ของที่นำเข้าผลิตส่งออก 7 ใน 8 ส่วน เพื่อส่งเสริมการประกอบกิจการอุตสาหกรรมภายในประเทศ
2. เพิ่ม ม.27 ทวิ ลงโทษผู้รับซื้อของลักลอบ
2501
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 31 ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501 [รก.2501 / 101 / 5พ. / 29 พฤศจิกายน 2501]
“บรรดาเครื่องจักรและวัตถุที่นำเข้ามาจากต่างประเทศอัน พึงได้รับการงดหรือลดอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมอุตสาหกรรมนั้น ให้อธิบดีกรมศุลกากรมีอำนาจผ่อนผันส่งมอบไปได้ โดยถือเอาการค้ำประกันของธนาคารที่เชื่อถือได้แทนการวางเงินเป็นประกันเงินอากร ที่พึงเรียกเก็บตามความในมาตรา 13 แห่งพ.ร.บ. ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482”
พลโท ถนอม กิตติขจร(2501)
โดยที่คณะปฏิวัติเห็นเป็นการจำเป็นที่ จะส่งเสริมให้มีการลงทุนในกิจการอุตสาหกรรมใน ประเทศอันจะเป็นผลให้ประเทศไทยสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ได้เอง เพื่อความประสงค์นี้ เป็นการสมควรที่จะจัดให้มีการผ่อนผันให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมได้ใช้บรรดา เครื่องจักรและวัตถุที่นำเข้ามาจากต่าง ประเทศได้โดยไม่ต้องวางเงินประกันเงินอากรที่พึงเรียกเก็บแก่สิ่งของเหล่านั้นตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร     
2501
ลงนามในอนุสัญญาเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1958 จำนวน 4 ฉบับ และได้ให้สัตยาบันเมื่อ 2511
พลโท ถนอม กิตติขจร(2501)

2504-2514
ระยะพัฒนาสู่ความสมดุลย์


2506
 กรมศุลกากรได้ปรับปรุงรหัสสินค้า

ใน พ.ศ.2506 กรมศุลกากรได้ปรับปรุงรหัสสินค้าของไทย ทั้งนี้เนื่องจากองค์การสหประชาชาติได้ปรับปรุงรหัสสินค้าเพื่อนำมารวบรวมสถิติสินค้าเข้าออกของนานาประเทศ ซึ่งในปีเดียวกันนี้ กรมศุลกากรได้เสนอคณะรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลังแต่งตั้งคณะกรรมการพิกัดอัตราศุลกากร ให้ทำหน้าที่กำหนดหรือปรับปรุงแก้ไขพิกัดอัตราศุลกากร
2510 2514

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 2  ..2510 - 2514

ยังเน้นการขยายอัตราความเจริญทางเศรษฐกิจ
เป็นหลัก แต่ได้เริ่มพูดถึงความสำคัญของการ
กระจายความเจริญไปสู่ส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2512
ประกาศใช้อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1958 เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ.2512 รวม 4 ฉบับคือ (1) อนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง (2) อนุสัญญาว่าด้วยทะเลหลวง (3) อนุสัญญาว่าด้วยการประมงและการอนุรักษ์ทรัพยากรมีชีวิตในทะเลหลวง (4) อนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งมีผลใช้บังคับสำหรับประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2511 เป็นต้นไป
พลโท ถนอม กิตติขจร(2501)

2514 เป็นต้นไป

ระยะพุ่งตัวของผลผลิตนอกสาขาเกษตร



2515 - 2519
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 3  ..2515-2519

แนวทางการพัฒนา  เสริมการส่งออก, ปรับปรุงโครงสร้างการนำเข้า ปรับปรุงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและยกระดับการผลิต เร่งรัดการส่งออกและทดแทนสินค้านำเข้า
2515
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 329 ลงวันที่  13  ธันวาคม ..2515
[รก.2515 / 190 / 142. / 13  ธันวาคม   2515]
 


พลโท ถนอม กิตติขจร(2506-2516)
โดยที่คณะปฏิวัติพิจารณาเห็นว่า    บทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยศุลกากรยังไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน   สมควรปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น    สะดวกแก่การปฏิบัติและช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมสินค้าขาออก   หัวหน้าคณะปฏิวัติจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้ (แก้ไข ม.19 ให้คืนอากรได้ 9 ใน 10 ส่วนและ ม.19 ทวิ ให้คืนอากรทั้งหมด และเพิ่ม ม.19 ตรี ให้รับการค้ำประกันของธนาคาร)
2520-2524
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 4 ..2520-2524

แนวทางการพัฒนา  เน้นการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศโดยมุ่งขยายการผลิตสาขาเกษตร, ปรับปรุงโครงสร้างอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อส่ง
ออก
2521
พ.ร.บ ส่งเสริมการพาณิชณยนาวี 2521
พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์(2520-2523)

2525 - 2529
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 5 ..2525-2529

แนวทางการพัฒนา   เน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพ ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจต่าง ๆ เช่น ปรับโครงสร้างการเกษตร ปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกและกระจายอุตสาหกรรมไปสู่ส่วนภูมิภาค
2528
พ.ร.ก. แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469  พ.ศ. 2528
[รก.2528 / 41 / 197. / 4  เมษายน   2528]

พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ (2523-2531)
หมายเหตุ  เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้     คือ   เนื่องจากได้มีการปรับปรุงแก้ไขโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรโดยออกเป็นพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร   (ฉบับที่ 45) พ.. 2528  ในการนี้เห็นสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติศุลกากร     เพื่อให้มีคณะกรรมการวินิจฉัยอากรศุลกากรในทำนองเดียวกับคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร    เพื่อให้การพิจารณาดำเนินการจัดเก็บภาษีอากรมีประสิทธิภาพและเกิดความเป็นธรรมยิ่งขึ้น   และโดยที่เป็นกฎหมายที่เกี่ยวเนื่องกับพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร   (ฉบับที่ 45)  .. 2528 ดังกล่าว    ซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนในอันที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ    จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้

2529-2533
ยุคเศรษฐกิจเฟื่องฟู (2529-2533)


2530 - 2534
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 6 พ..2530 - 2534

เน้นวัตถุประสงค์ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม
2530
ปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร

ในปี พ.ศ.2530 ได้มีการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร โดยพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 พิกัดอัตราศุลกากรนี้ได้ใช้ระบบจำแนกประเภทสินค้าและรหัสประเภทพิกัดของคณะมนตรีความร่วมมือทางศุลกากร ที่เรียกว่า ระบบ ฮาร์โมไนซ์ (Harinonized System) โดยเริ่มใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2531
2534-3539
ยุคเศรษฐกิจชะลอตัว (2534-2539)


2534
พ.ร.บ. การกักเรือ พ.ศ. 2534
พลเอกชาติชาย  ชุณหะวัน(2531-2534)

2534
พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534
ยกร่างตั้งแต่ปี 2528
นายอานันท์  ปันยารชุน(2534-2535)

2534
พ.ร.บ. ศุลกากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2534
[รก.2534 / 240 / 77. / 29  ธันวาคม   2534]
เพิ่ม ม. 6(6) สินค้าอันตราย
ม. 61 สินค้าอันตรายตกค้าง
เพิ่ม ม. 63 ทวิ สั่งให้นำสินค้าอันตรายกลับออกไป
หมายเหตุ:-  เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้   คือ   โดยที่ในปัจจุบันได้มีการนำสินค้าจำพวกเคมีภัณฑ์ สิ่งมีพิษ  หรือสิ่งที่เป็นอันตรายอย่างอื่น เข้ามาในราชอาณาจักรและนำมาเก็บรักษาไว้ในเขตศุลกากรเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจเกิดอันตรายหรือความเสียหายต่อบุคคล  สัตว์  พืช  ทรัพย์สิน หรือสิ่งแวดล้อมขึ้นได้    สมควรกำหนดวิธีการเก็บภาษีอากรสำหรับสินค้าอันตรายตลอดจนเงื่อนไขในการขนถ่าย   การเก็บรักษาสินค้า   และการนำสินค้าออกไปจากเขตศุลกากรขึ้นโดยเฉพาะ    เพื่อให้มีการนำสินค้าเหล่านั้นออกไปจากเขตศุลกากรได้โดยรวดเร็วและเหมาะสม      กับสถานที่เก็บรักษาสินค้าดังกล่าว    นอกจากนี้        สมควรกำหนดมาตรการดำเนินการกับของตกค้างที่เป็นสินค้าอันตรายและของเสียและเรือที่นำของดังกล่าวเข้ามาในราชอาณาจักร      ให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น    จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
2535 - 2539
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 7 พ..2535 - 2539

เริ่มมองเห็นความจำเป็นในการกำหนดแนวความคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development)
2537
พ.ร.บ. การจำนองเรือและบุริมสิทธิทางทะเล พ.ศ. 2537
นายชวน หลีกภัย (2535-2543)

2540-2542
ยุค IMF(2540 2542)


2540 - 2544
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 8 พ..2540 - 2544

ปรับแนวคิดการพัฒนาจากเดิมที่เน้นเศรษฐกิจมาเป็นการเน้นคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา
2540
พ.ร.บ. ศุลกากร (ฉบับที่ 15.2540
[รก.2540  / 72/ 20 / 16  พฤศจิกายน   2540]
นายชวน หลีกภัย (2535-2543)
ม.20 ทวิ ความผิดที่เกิดขึ้นในทะเลอาณาเขตส่งผู้ต้องหาในท้องที่ใดให้พนักงานสอบสวนรับผิดชอบ
หมวด 4 ทวิ อำนาจศุลกากรในเขตต่อเนื่อง ม.37ทวิ - เบญจ
หมายเหตุ:- โดยที่เป็นการสมควรกำหนด การสอบสวนความผิดตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรที่เกิดในทะเลอาณาเขต และเนื่องจากได้มีประกาศพระบรมราชโองการกำหนดเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทย สมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติศุลกากร พระพุทธศักราช 2469 เพื่อกำหนดการใช้อำนาจทางศุลกากรในเขตต่อเนื่องให้ชัดเจนด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
2542
พ.ร.บ. ศุลกากร (ฉบับที่ 16.2542
[รก.2542 / 118/ 36 / 25  พฤศจิกายน   2542]

นายชวน หลีกภัย (2535-2543)
หมายเหตุ:-   โดยที่เป็นการสมควรเพิ่มมาตรการบางประการเพื่อให้การปราบปรามการหลีกเลี่ยงภาษีตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรบรรลุผลยิ่งขึ้น สมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติศุลกากร     พระพุทธศักราช   2469    เพื่อกำหนดความผิดสำหรับการขนถ่ายสิ่งของใด       ในทะเลนอกเขตท่า (ม.37จัตวา) และเพิ่มอำนาจของศาลในการริบเรือที่มีขนาดเกินสองร้อยห้าสิบตัน (ม.32 วรรค 2)  และของที่มิได้เป็นของผู้กระทำความผิดในบางกรณี จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้  (ม.32 ทวิ)                
2543
พ.ร.บ. ศุลกากร (ฉบับที่ 17) .2543
[รก.2543 / 17/ 1 / มีนาคม  2543]

นายชวน หลีกภัย (2535-2543)
หมายเหตุ:- 1. เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 7 ของความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า 1994 จึงต้องยกเลิกการใช้ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเป็นเกณฑ์ประเมินเงินอากรสำหรับของนำเข้าโดยให้ใช้ราคาศุลกากรแทน
2. กำหนดให้มีคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และกระบวนการในการพิจารณาอุทธรณ์
3. สมควรกำหนดให้บุคคลซึ่งเกี่ยวข้องกับการนำของเข้าหรือส่งของออก มีหน้าที่เก็บรักษบัญชี เอกสาร หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการนำของเข้าหรือส่งของออกเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ
2543
พ.ร.บ. ศุลกากร (ฉบับที่ 18) .2543
 [รก.2543 / 108/ 1 / 17  พฤศจิกายน  2543]
นายชวน หลีกภัย (2535-2543)
เขตปลอดอากร
การค้าขายระหว่างประเทศได้มีการแข่งขันกันอย่างมาก การสนับสนุนและส่งเสริมการส่งออก จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นการเพิ่มขีด ความสามารถในการแข่งขันกับประเทศต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้จึงสมควรกำหนดให้มีการจัดตั้งเขตปลอดอากรขึ้นในประเทศไทย เพื่อผลิต ผสม ประกอบ บรรจุหรือดำเนินการอื่นใดกับสินค้านั้นเพื่อส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
2545 - 2549
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 9 พ..2545 - 2549

ได้อัญเชิญแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาและบริหารประเทศโดยยึดหลักทางสายกลาง
เพื่อให้ประเทศรอดพ้นจากวิกฤต สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง และนำไปสู่การพัฒนาที่สมดุล มีคุณภาพและยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงต่างๆ โดยมี วัตถุประสงค์
() เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพและมีภูมิคุ้มกัน
()เพื่อวางรากฐานการพัฒนาประเทศให้เข้มแข็ง ยั่งยืน สามารถพึ่ง
ตนเองได้อย่างรู้เท่าทันโลก
()เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่ดีในสังคมไทยทุกระดับ
()เพื่อแก้ปัญหาความยากจนและเพิ่มศักยภาพและโอกาสของคนไทยในการพึ่งพาตนเอง
2548
พ.ร.บ. ศุลกากร (ฉบับที่ 19) .2548
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 122/ตอนที่ 4 ก/หน้า 1/13 มกราคม 25
สมัยรัฐบาลพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงอัตรา
โทษปรับสำหรับความผิดทุกฐานตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรให้สูงขึ้น เนื่องจากอัตราโทษปรับที่กำหนดไว้ในกฎหมายได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน และเมื่อเปรียบเทียบกับค่าของเงินในปัจจุบันแล้วเป็นจำนวนเงินที่ต่ำ จึงจำเป็นต้องปรับปรุงอัตราโทษปรับเสียใหม่ให้เหมาะสมกับค่าของเงินตามสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน เพื่อให้การลงโทษตามกฎหมายดังกล่าวมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในเรื่องอื่น ๆ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้นในคราวเดียวกันดังนี้คือ กำหนดกรณีของกลางที่ได้
ถูกยึดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรให้ตกเป็นของแผ่นดินหากเจ้าของหรือผู้มีสิทธิไม่มายื่นคำร้องเรียกเอาคืน โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าจะมีการฟ้องร้องคดีอาญาหรือไม่ กำหนดลักษณะของที่เกี่ยวข้องกับความผิดตามมาตรา ๒๗ และมาตรา ๒๗ ทวิ ให้สอดคล้องกัน กำหนดอำนาจของอธิบดีในการจำหน่ายของสดของเสียที่บูดเน่าได้ แก้ไขอำนาจของคณะกรรมการเปรียบเทียบให้มีอำนาจเปรียบเทียบการกระทำความผิดในกรณีที่ของกลางมีมูลค่ารวมกันเกินกว่าสี่แสนบาท กับให้มีอำนาจเปรียบเทียบสำหรับความผิดฐาน ฝ่าฝืนบทบัญญัติเรื่องทางอนุมัติ เฉพาะคราวเพิ่มขึ้น กำหนดให้การ
ฝ่าฝืนบทบัญญัติเรื่องการขนส่งของตามทางอนุมัติเฉพาะคราวเป็นความผิด และต้องระวางโทษอย่างเดียวกับกรณีของการขนส่งของตามทางอนุมัติ รวมทั้งการริบของที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดในกรณีดังกล่าวด้วย และกำหนดอำนาจในการออกกฎกระทรวงของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ๙) พุทธศักราช ๒๔๘๒ เพื่อให้การใช้บังคับและการปฏิบัติการตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้สมควรยกเลิก
บทบัญญัติเกี่ยวกับศาลกงสุลต่างประเทศเนื่องจากศาลดังกล่าวได้ถูกยกเลิกแล้ว และยกเลิกบทบัญญัติที่กำหนดให้การส่งออกข้าวและรำต้องบรรจุกระสอบเท่านั้นด้วย เพื่อให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
2548
พ.ร.บ. ศุลกากร (ฉบับที่ 20) .2548
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 122/ตอนที่ 4 ก/หน้า 8/13 มกราคม 2548

สมัยรัฐบาลพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ได้มีการลงนามในบันทึกความ
เข้าใจระหว่างราชอาณาจักรไทยและมาเลเซียเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรร่วมเพื่อแสวงประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นดินใต้ทะเลในบริเวณที่กำหนดของไหล่ทวีปของประเทศทั้งสองในอ่าวไทย ลงวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๒ และในความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งมาเลเซียว่าด้วยธรรมนูญและเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดตั้งองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย ลงวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ซึ่งรัฐสภาได้ให้ความเห็นชอบแล้วเพื่อให้การปฏิบัติการเป็นไปตามบันทึกความเข้าใจและความตกลงดังกล่าวในเรื่องเกี่ยวกับอำนาจทางศุลกากร จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
2550 - 2554
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 10 พ..2550 - 2554
ยึดหลักการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ลดความเหลื่อมล้าและขับเคลื่อนการเจริญเติบโตจากการเพิ่มผลิตภาพการผลิตบนฐานการใช้ภูมิปัญญาและนวัตกรรม

2555 - 2559
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 11 พ..2555 - 2559
ยังคงยึดหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและ คนเป็นศูนย์กลางของ การพัฒนารวมทั้ง สร้างสมดุลการพัฒนาในทุกมิติ

2557
พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ๒๑) พ.ศ. ๒๕๕๗
“การผ่านแดน ถ่ายลำ และการใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในการศุลกากร”
สมัยรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่กฎหมายว่าด้วยศุลกากรยังไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์การนำของเข้าเพื่อการผ่านแดนหรือการถ่ายลำออกนอกราชอาณาจักร ทำให้การศุลกากรของประเทศไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากลและยังไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยพิธีการศุลกากรที่เรียบง่ายและสอดคล้องกัน (The International Convention on the Simplification and Harmonization of Customs Procedures) และเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการในการประเมินค่าภาษีและการเสียภาษี สมควรกำหนดหลักเกณฑ์การนำของเข้าเพื่อการผ่านแดนหรือการถ่ายลำออกนอกราชอาณาจักร และการยื่นคำร้องขอต่ออธิบดีกรมศุลกากรเพื่อพิจารณากำหนดราคาของของนำเข้า กำหนดถิ่นกำเนิดของของที่จะนำเข้า และตีความพิกัดอัตราศุลกากรเพื่อจำแนกประเภทของของในพิกัดอัตราศุลกากรตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากรเป็นการล่วงหน้า ก่อนที่จะนำของเข้ามาในราชอาณาจักรลอดจนกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการนำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการศุลกากรได้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
2557
พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ๒๒) พ.ศ. ๒๕๕๗
“อำนาจทางศุลกากรในพื้นที่ควบคุมร่วมกัน”
สมัยรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

หมายเหตุ เหตุผลในการประกาศใช้ พ.ร.บ. ฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการทำความตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกในการขนส่งข้ามพรมแดน เพื่อวางกรอบความร่วมมือของเจ้าหน้าที่ของประเทศภาคีตามความตกลงในการดำเนินพิธีการในการขนส่งข้ามพรมแดนร่วมกันและพร้อมกันในพื้นที่เดียวกัน แต่การดำเนินพิธีการศุลกากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรยังไม่ครอบคลุมถึงการดำเนินพิธีการศุลกากรในพื้นที่ควบคุมร่วมกัน ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ อำนวยความสะดวกในการขนส่งข้ามพรมแดนและเป็นการปฏิบัติตามพันธกรณีตามความตกลงดังกล่าว สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยศุลกากรเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ในการดำเนินพิธีการศุลกากรในพื้นที่ดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
2560 - 2564
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 12 พ..2560 - 2564
ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” “การพัฒนาที่ยั่งยืนและคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา
Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน
2560
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. ๒๕๖๐
สมัยรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช ๒๔๖๙ ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานและมีบทบัญญัติบางเรื่องล้าสมัยหรือไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน อีกทั้งยังมีการตรากฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติดังกล่าวหลายฉบับ ทำให้เกิดความไม่สะดวกในการใช้บังคับกฎหมายประกอบกับการค้าและการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศได้พัฒนาและขยายตัวมากขึ้น ทำให้มีความจำเป็นต้องปรับปรุงการดำเนินพิธีการศุลกากรและการดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล อันจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยศุลกากร  จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

2561 ร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่..) พ.ศ. ....

กรมศุลกากร อยู่ระหว่างเสนอแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. ๒๕๖๐ สภาพปัญหาและสาเหตุของปัญหา
ภายหลังมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. ๒๕๖๐ กรมศุลกากรได้จัดให้มี การรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ของพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. ๒๕๖๐ ตามมาตรา ๗๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ และได้นำผลการรับฟังความคิดเห็นดังกล่าวมาประกอบการพิจารณา พบว่ามีปัญหาที่สำคัญในการบังคับใช้กฎหมาย กล่าวคือ ไม่มีบทบัญญัติ ให้อำนาจอธิบดีไว้อย่างชัดเจน ในการกำหนดระเบียบการกักของ การขายทอดตลาด และการหักใช้เงินจากการขายทอดตลาด การกำหนดระเบียบการยึดและการขายทอดตลาดทรัพย์สิน การกำหนดหลักเกณฑ์ในการสืบทรัพย์ของ ผู้ค้างชำระอากร การกำหนดหลักเกณฑ์เรื่องการยื่นทุเลาการเสียอากรและการพิจารณาทุเลาการเสียอากร และการกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้ครอบคลุมถึงการดำเนินพิธีการศุลกากรอื่น นอกจากนี้ การกำหนดระยะเวลา การประเมินอากร ความรับผิดในการเสียอากรสำหรับการนำของเข้าหรือส่งของออกทางบก และของตกค้าง ยังมีความไม่ชัดเจน รวมทั้งไม่มีบทบัญญัติกำหนดการขยายระยะเวลาในการนำของผ่านแดนหรือถ่ายลำออกไปนอกราชอาณาจักร การดำเนินการกับของผ่านแดนหรือถ่ายลำที่ตกเป็นของแผ่นดิน การกำหนดให้โรงพักสินค้าหรือที่มั่นคงเป็นสถานที่สำหรับตรวจ เก็บ หรือตรวจปล่อย ของผ่านแดนหรือถ่ายลำ และของที่กฎหมายกำหนดให้ได้รับยกเว้นหรือคืนอากรเมื่อส่งออกไปนอกราชอาณาจักร หากนำเข้าไปในคลังสินค้าทัณฑ์บน ตามมาตรา ๑๑๖(๑) จะไม่ได้รับการยกเว้นหรือคืนอากรเช่นเดียวกับคลังสินค้าทัณฑ์บนตามมาตรา ๑๑๖ (๒) หรือ (๓) ตลอดจนบทกำหนดโทษที่ไม่เหมาะสม ซึ่งจากสภาพปัญหาที่กล่าวมา จึงส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการบังคับใช้พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. ๒๕๖๐




อ่านบทความที่เกียวข้องย้อนหลั

ดร.สงบ สิทธิเดช
Dr.Sangob Sittidech
LL.B., M.A., D.P.A.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น