พระราชบัญญัติ
ศุลกากร
พ.ศ. ๒๕๖๐
-------------------------------
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ
บดินทรเทพยวรางกูร
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
เป็นปีที่ ๒ ในรัชกาลปัจจุบัน
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
เป็นปีที่ ๒ ในรัชกาลปัจจุบัน
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ
บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคําแนะนําและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติทําหน้าที่รัฐสภา
ดังต่อไปนี้
มาตรา
๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. ๒๕๖๐”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา
๓ ให้ยกเลิก
(๑)
พระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช ๒๔๖๙
(๒)
พระราชบัญญัติศุลกากรแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑) พุทธศักราช ๒๔๗๑
(๓)
พระราชบัญญัติศุลกากรแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๔๗๒
(๔)
พระราชบัญญัติศุลกากรแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๓) พุทธศักราช ๒๔๗๔
(๕)
พระราชบัญญัติศุลกากรแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๔) พุทธศักราช ๒๔๗๕
(๖)
พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ๖) พุทธศักราช ๒๔๗๙
(๗)
พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ๗) พุทธศักราช ๒๔๘๐
(๘)
พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ๘) พุทธศักราช ๒๔๘๐
(๙)
พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ๙) พุทธศักราช ๒๔๘๒
(๑๐)
พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ๑๐) พุทธศักราช ๒๔๘๓
(๑๑)
พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๔๙๐
(๑๒)
พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๔๙๗
(๑๓)
พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ๑๓) พ.ศ. ๒๔๙๙
(๑๔)
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๙ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕
(๑๕)
พระราชกําหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช ๒๔๖๙ พ.ศ. ๒๕๒๘
(๑๖)
พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๓๔
(๑๗)
พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ๑๕) พ.ศ. ๒๕๔๐
(๑๘)
พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ๑๖) พ.ศ. ๒๕๔๒
(๑๙)
พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ๑๗) พ.ศ. ๒๕๔๓
(๒๐)
พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ๑๘) พ.ศ. ๒๕๔๓
(๒๑)
พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๔๘
(๒๒)
พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ๒๐) พ.ศ. ๒๕๔๘
(๒๓)
พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ๒๑) พ.ศ. ๒๕๕๗
(๒๔)
พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ๒๒) พ.ศ. ๒๕๕๗
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
“อากร”
หมายความว่า อากรศุลกากรที่จัดเก็บกับของที่นําเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากรหรือกฎหมายอื่นที่กําหนดให้เป็นอากรศุลกากร
“ผู้นําของเข้า” ให้หมายความรวมถึง เจ้าของ
ผู้ครอบครอง หรือผู้มีส่วนได้เสียในของใด ๆ นับแต่เวลาที่นําของนั้นเข้ามาในราชอาณาจักรจนถึงเวลาที่พนักงานศุลกากรได้ส่งมอบให้ไปโดยถูกต้องพ้นจากอารักขาของพนักงานศุลกากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5654/2560
ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 2 คำว่า "ผู้นำของเข้า" หมายความรวมทั้งและใช้ตลอดถึงเจ้าของหรือบุคคลอื่นซึ่งเป็นผู้ครอบครองนี้มีส่วนได้เสียชั่วขณะหนึ่งในของใด ๆ นับแต่เวลาที่นำของนั้นเข้ามาจนถึงเวลาที่ได้ส่งมอบให้ไปโดยถูกต้องพ้นจากความรักษาของพนักงานศุลกากร และคำว่า "ผู้ส่งของออก" ให้มีความหมายเป็นทำนองเดียวกันโดยอนุโลม และ ป.รัษฎากร มาตรา 77/1 (11) บัญญัติว่า "ผู้นำเข้า" หมายความว่า ผู้ประกอบการหรือบุคคลอื่นซึ่งนำเข้า ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ฮ. ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2547 แต่ใบขนสินค้าพิพาททั้ง 3 ฉบับ ระบุว่าวันนำเข้าสินค้าซึ่งเป็นวันหลังจาก ฮ. ถึงแก่ความตายไปแล้ว เมื่อจำเลยเป็นผู้ลงชื่อในใบขนสินค้าพิพาททั้ง 3 ฉบับ ในฐานะผู้ผ่านบัตรพิธีศุลกากร ประกอบกับตามเหตุผลประกอบคำอุทธรณ์ของจำเลยซึ่งจำเลยรับว่าเป็นผู้ดำเนินการพิธีการทางศุลกากรและตรวจปล่อย กรณีจึงถือว่าจำเลยเป็นผู้มีส่วนได้เสียชั่วขณะหนึ่งในของที่นำเข้านับแต่เวลาที่นำของนั้นเข้ามาจนถึงเวลาที่ได้ส่งมอบให้ไปโดยถูกต้องพ้นจากความรักษาของพนักงานศุลกากร ตามพฤติการณ์แห่งคดีจึงถือว่าจำเลยเป็นผู้นำของเข้า
***หมายเหตุ ดูคำอธิบาย "ผู้นำของเข้า" ตาม พ.ร.บ. ศุลกากร 2469 เพิ่มเติม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5654/2560
ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 2 คำว่า "ผู้นำของเข้า" หมายความรวมทั้งและใช้ตลอดถึงเจ้าของหรือบุคคลอื่นซึ่งเป็นผู้ครอบครองนี้มีส่วนได้เสียชั่วขณะหนึ่งในของใด ๆ นับแต่เวลาที่นำของนั้นเข้ามาจนถึงเวลาที่ได้ส่งมอบให้ไปโดยถูกต้องพ้นจากความรักษาของพนักงานศุลกากร และคำว่า "ผู้ส่งของออก" ให้มีความหมายเป็นทำนองเดียวกันโดยอนุโลม และ ป.รัษฎากร มาตรา 77/1 (11) บัญญัติว่า "ผู้นำเข้า" หมายความว่า ผู้ประกอบการหรือบุคคลอื่นซึ่งนำเข้า ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ฮ. ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2547 แต่ใบขนสินค้าพิพาททั้ง 3 ฉบับ ระบุว่าวันนำเข้าสินค้าซึ่งเป็นวันหลังจาก ฮ. ถึงแก่ความตายไปแล้ว เมื่อจำเลยเป็นผู้ลงชื่อในใบขนสินค้าพิพาททั้ง 3 ฉบับ ในฐานะผู้ผ่านบัตรพิธีศุลกากร ประกอบกับตามเหตุผลประกอบคำอุทธรณ์ของจำเลยซึ่งจำเลยรับว่าเป็นผู้ดำเนินการพิธีการทางศุลกากรและตรวจปล่อย กรณีจึงถือว่าจำเลยเป็นผู้มีส่วนได้เสียชั่วขณะหนึ่งในของที่นำเข้านับแต่เวลาที่นำของนั้นเข้ามาจนถึงเวลาที่ได้ส่งมอบให้ไปโดยถูกต้องพ้นจากความรักษาของพนักงานศุลกากร ตามพฤติการณ์แห่งคดีจึงถือว่าจำเลยเป็นผู้นำของเข้า
***หมายเหตุ ดูคำอธิบาย "ผู้นำของเข้า" ตาม พ.ร.บ. ศุลกากร 2469 เพิ่มเติม
“ผู้ส่งของออก” ให้หมายความรวมถึงเจ้าของผู้ครอบครอง
หรือผู้มีส่วนได้เสียในของใด ๆ นับแต่เวลาที่นําของนั้นเข้ามาในอารักขาของพนักงานศุลกากรจนถึงเวลาที่ได้ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
“ของต้องห้าม”
หมายความว่า
ของที่มีกฎหมายกําหนดห้ามมิให้นําเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
หรือนําผ่านราชอาณาจักร
“ของต้องกํากัด”
หมายความว่า ของที่มีกฎหมายกําหนดว่า
หากจะมีการนําเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร หรือนําผ่านราชอาณาจักร
จะต้องได้รับอนุญาตหรือปฏิบัติให้ครบถ้วนตามที่กําหนดไว้ในกฎหมาย
“ด่านศุลกากร”
หมายความว่าท่าที่ หรือสนามบินที่ใช้สําหรับการนําของเข้า
การส่งของออก การผ่านแดน การถ่ายลํา และการศุลกากรอื่น
เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติพิธีการศุลกากร
“ด่านพรมแดน”หมายความว่า ด่านที่ตั้งขึ้น ณ บริเวณเขตแดนทางบก บนทางอนุมัติ
เพื่อประโยชน์ในการตรวจของที่ขนส่งโดยทางนั้น
“เรือ”
หมายความว่า ยานพาหนะทางน้ำที่ใช้ในการขนส่งของหรือคน
และให้หมายความรวมถึงเรือประมงด้วย
“นายเรือ”
หมายความว่า บุคคลซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาหรือควบคุมเรือ
“เขตแดนทางบก”
หมายความว่า เขตแดนทางบกระหว่างราชอาณาจักรกับดินแดนต่างประเทศและให้หมายความรวมถึงทางน้ำใด
ๆ ที่เป็นเขตแดนแห่งราชอาณาจักรหรือตอนหนึ่งแห่งเขตแดนนั้น
“ทางอนุมัติ”
หมายความว่า ทางที่ใช้ขนส่งของเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรจากเขตแดนทางบกมายังด่านศุลกากร
หรือจากด่านศุลกากรไปยังเขตแดนทางบก
“การผ่านแดน” หมายความว่า
การขนส่งของผ่านราชอาณาจักรจากด่านศุลกากรแห่งหนึ่งที่ขนส่งของเข้ามาไปยังด่านศุลกากรอีกแห่งหนึ่งที่ขนส่งของออกไป
ภายใต้การควบคุมของศุลกากร
โดยมีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของการขนส่งอยู่นอกราชอาณาจักร
ไม่ว่าการขนส่งนั้นจะมีการขนถ่ายของเพื่อเปลี่ยนยานพาหนะ การเก็บรักษาของ
การเปลี่ยนภาชนะบรรจุของเพื่อประโยชน์ในการขนส่ง
หรือการเปลี่ยนรูปแบบของการขนส่งของด้วยหรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้
จะต้องไม่มีการใช้ประโยชน์ใด ๆ ซึ่งของนั้นหรือมีพฤติกรรมใด ๆ
เพื่อประโยชน์ทางการค้าเกี่ยวกับของดังกล่าวในราชอาณาจักร
“การถ่ายลํา”
หมายความว่า
การถ่ายของจากยานพาหนะหนึ่งที่ขนส่งของเข้ามาในราชอาณาจักรไปยังอีกยานพาหนะหนึ่งที่ขนส่งของออกไปนอกราชอาณาจักร
ภายใต้การควบคุมของศุลกากรในด่านศุลกากรแห่งเดียวกัน
โดยมีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของการขนส่งอยู่นอกราชอาณาจักร
“พนักงานศุลกากร”
หมายความว่า
(๑)
บุคคลซึ่งรับราชการในกรมศุลกากรและได้รับการแต่งตั้งจากอธิบดีให้ปฏิบัติหน้าที่ของตนตามปกติหรือให้ปฏิบัติหน้าที่เฉพาะการ
(๒)
เจ้าหน้าที่ทหารเรือ นายอําเภอ หรือปลัดอําเภอ
ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นพิเศษจากอธิบดี
ให้กระทําการแทนกรมศุลกากร
ให้กระทําการแทนกรมศุลกากร
(๓)
เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐอื่นซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้กระทําการเป็นพนักงานศุลกากร
“อธิบดี”
หมายความว่า อธิบดีกรมศุลกากรหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย
“รัฐมนตรี”
หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้และให้มีอํานาจแต่งตั้งพนักงานศุลกากร
กับออกกฎกระทรวงในเรื่องดังต่อไปนี้
(๑) กําหนดท่า ที่
หรือสนามบินใด ๆ ในราชอาณาจักรให้เป็นด่านศุลกากร
โดยจะกําหนดเงื่อนไขในการดําเนินการทางศุลกากรตามที่เห็นสมควรไว้ด้วยก็ได้
รวมทั้งระบุเขตศุลกากรของด่านศุลกากรนั้น
(๒) กําหนดที่ใด ๆ
ให้เป็นด่านพรมแดน
โดยจะกําหนดเงื่อนไขในการดําเนินการทางศุลกากรตามที่เห็นสมควรไว้ด้วยก็ได้
(๓) กําหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้
หรือยกเว้นค่าธรรมเนียม
(๔) กําหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขในการยื่นใบขนสินค้าและการเสียอากร
สําหรับของที่นําเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้
เฉพาะกรณีที่มีลักษณะพิเศษหรือมีเหตุจําเป็น
(๕) กําหนดชนิดหรือประเภทของสินค้าอันตราย
การเก็บและการขนถ่ายสินค้าอันตรายที่อยู่ในเขตศุลกากรและที่นําออกไปจากเขตศุลกากร
รวมทั้งวิธีการจัดเก็บอากรสําหรับสินค้าอันตรายดังกล่าว
(๖)
กําหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้กฎกระทรวงนั้น
เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
ดร.สงบ สิทธิเดช
Online 19-May-17
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น