2. ข้อห้าม ข้อจำกัด ตาม ม.106, 244 พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2560
พัฒนาการของ พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2560 ที่ทดแทนฉบับของปี พ.ศ. 2469
ได้ให้ความหมาย “ของต้องห้าม” “ของต้องกำกัด” ไว้ และได้แยกให้ชัดเจนว่าหากเป็นการกระทำความผิดอันเกี่ยวกับของดังกล่าว
(องค์ประกอบความผิดคือวัตถุแห่งการกระทำ) จะใช้ว่า “ข้อห้าม” “ข้อจำกัด” แทน เช่น
การหลีกเลี่ยงข้อจำกัดหรือข้อห้ามอันเกี่ยวกับของนั้นตามมาตรา 244
จะไม่ใช้คำว่าหลีกเลี่ยง “ข้อกำกัด” เป็นต้น ปรากฏอยู่ตามมาตรา 106, 244 และ 255
ดังนี้
มาตรา 106 ให้นำข้อห้ามหรือข้อจำกัดสำหรับการนำผ่านตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องมาใช้บังคับกับของที่นำเข้ามาเพื่อการผ่านแดนหรือการถ่ายลำ
โดยคำนึงถึงศีลธรรมอันดีของประชาชน นโยบายสาธารณะ ความปลอดภัยของสาธารณชน
การปกป้องชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ หรือพืช
และการปกป้องการครอบครองสมบัติของชาติในด้านศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์
หรือค่านิยมทางโบราณคดีหรือการปกป้องทรัพย์สินทางการค้าหรืออุตสาหกรรม
รวมทั้งการปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่ด้วย
มาตรา 244 ผู้ใดนำของที่ผ่านหรือกำลังผ่านพิธีการศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักร
หรือส่งของดังกล่าวออกไปนอกราชอาณาจักร
หรือนำของเข้าเพื่อการผ่านแดนหรือการถ่ายลำโดยหลีกเลี่ยงข้อจำกัดหรือข้อห้ามอันเกี่ยวกับของนั้น
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
และศาลอาจสั่งริบของนั้นก็ได้ ไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่
มาตรา 255 ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งจ่ายเงินสินบนและรางวัลตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดโดยได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรี
ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ความผิดตามมาตรา 242 มาตรา 244
เฉพาะกรณีความผิดฐานหลีกเลี่ยงข้อห้ามและมาตรา 246
ให้หักจ่ายเป็นเงินสินบนและรางวัลร้อยละสี่สิบจากเงินค่าขายของกลาง โดยให้หักจ่ายเป็นเงินสินบนร้อยละยี่สิบ
และเป็นเงินรางวัลร้อยละยี่สิบ
แต่กรณีที่มิได้ริบของกลางหรือของกลางไม่อาจจำหน่ายได้ให้หักจ่ายจากเงินค่าปรับ
(2) ความผิดตามมาตรา 202 มาตรา 243 และมาตรา 244
เฉพาะกรณีความผิดฐานหลีกเลี่ยงข้อจำกัดให้หักจ่ายเป็นเงินรางวัลร้อยละยี่สิบจากเงินค่าขายของกลาง
แต่กรณีที่มิได้ริบของกลางหรือของกลางไม่อาจจำหน่ายได้ให้หักจ่ายจากเงินค่าปรับ
3.1 องค์ประกอบความผิดฐานนำของเข้าหรือส่งของออก หรือนำของเข้าเพื่อการผ่านแดนหรือการถ่ายลำโดยหลีกเลี่ยงข้อจำกัดข้อห้าม ตาม ม. 244 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2560
3.2 ความหมายของคำว่า “ของต้องห้าม ต้องจำกัดหรือกำกัด และหัตถกรรม ตามบทความเดิม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469
ดร.สงบ สิทธิเดช
14 มี.ค. 2564
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น