วันเสาร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2564

2. ข้อห้าม ข้อจำกัด และ 3. บทความเพิ่มเติม

 2. ข้อห้าม ข้อจำกัด ตาม ม.106, 244 พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2560

                   พัฒนาการของ พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2560 ที่ทดแทนฉบับของปี พ.ศ. 2469 ได้ให้ความหมาย “ของต้องห้าม” “ของต้องกำกัด” ไว้ และได้แยกให้ชัดเจนว่าหากเป็นการกระทำความผิดอันเกี่ยวกับของดังกล่าว (องค์ประกอบความผิดคือวัตถุแห่งการกระทำ) จะใช้ว่า “ข้อห้าม” “ข้อจำกัด” แทน เช่น การหลีกเลี่ยงข้อจำกัดหรือข้อห้ามอันเกี่ยวกับของนั้นตามมาตรา 244 จะไม่ใช้คำว่าหลีกเลี่ยง “ข้อกำกัด” เป็นต้น ปรากฏอยู่ตามมาตรา 106, 244 และ 255 ดังนี้

มาตรา 106  ให้นำข้อห้ามหรือข้อจำกัดสำหรับการนำผ่านตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องมาใช้บังคับกับของที่นำเข้ามาเพื่อการผ่านแดนหรือการถ่ายลำ โดยคำนึงถึงศีลธรรมอันดีของประชาชน นโยบายสาธารณะ ความปลอดภัยของสาธารณชน การปกป้องชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ หรือพืช และการปกป้องการครอบครองสมบัติของชาติในด้านศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ หรือค่านิยมทางโบราณคดีหรือการปกป้องทรัพย์สินทางการค้าหรืออุตสาหกรรม รวมทั้งการปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่ด้วย

มาตรา 244  ผู้ใดนำของที่ผ่านหรือกำลังผ่านพิธีการศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักร หรือส่งของดังกล่าวออกไปนอกราชอาณาจักร หรือนำของเข้าเพื่อการผ่านแดนหรือการถ่ายลำโดยหลีกเลี่ยงข้อจำกัดหรือข้อห้ามอันเกี่ยวกับของนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และศาลอาจสั่งริบของนั้นก็ได้ ไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่

มาตรา 255  ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งจ่ายเงินสินบนและรางวัลตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดโดยได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรี ในกรณีดังต่อไปนี้

(1) ความผิดตามมาตรา 242 มาตรา 244 เฉพาะกรณีความผิดฐานหลีกเลี่ยงข้อห้ามและมาตรา 246 ให้หักจ่ายเป็นเงินสินบนและรางวัลร้อยละสี่สิบจากเงินค่าขายของกลาง โดยให้หักจ่ายเป็นเงินสินบนร้อยละยี่สิบ และเป็นเงินรางวัลร้อยละยี่สิบ แต่กรณีที่มิได้ริบของกลางหรือของกลางไม่อาจจำหน่ายได้ให้หักจ่ายจากเงินค่าปรับ

(2) ความผิดตามมาตรา 202 มาตรา 243 และมาตรา 244 เฉพาะกรณีความผิดฐานหลีกเลี่ยงข้อจำกัดให้หักจ่ายเป็นเงินรางวัลร้อยละยี่สิบจากเงินค่าขายของกลาง แต่กรณีที่มิได้ริบของกลางหรือของกลางไม่อาจจำหน่ายได้ให้หักจ่ายจากเงินค่าปรับ

 

3. บทความเพิ่มเติม

     3.1 องค์ประกอบความผิดฐานนำของเข้าหรือส่งของออก หรือนำของเข้าเพื่อการผ่านแดนหรือการถ่ายลำโดยหลีกเลี่ยงข้อจำกัดข้อห้าม ตาม ม. 244 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2560

     3.2 ความหมายของคำว่า “ของต้องห้าม ต้องจำกัดหรือกำกัด และหัตถกรรม ตามบทความเดิม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469

 

ลิขสิทธิ์โดย
ดร.สงบ สิทธิเดช
14 มี.ค. 2564

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น