วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

องค์ประกอบความผิดฐานนำของเข้าหรือส่งของออก หรือนำของเข้าเพื่อการผ่านแดนหรือการถ่ายลำโดยหลีกเลี่ยงข้อจำกัดข้อห้าม ตามมาตรา 244

องค์ประกอบความผิดฐานนำของเข้าหรือส่งของออก หรือนำของเข้าเพื่อการผ่านแดนหรือการถ่ายลำโดยหลีกเลี่ยงข้อจำกัดข้อห้าม ตาม ม. 244 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2560
    “มาตรา 244 ผู้ใดนำของที่ผ่านหรือกำลังผ่านพิธีการศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักร หรือส่งของดังกล่าวออกไปนอกราชอาณาจักร หรือนำของเข้าเพื่อการผ่านแดนหรือการถ่ายลำโดยหลีกเลี่ยงข้อจำกัดหรือข้อห้ามอันเกี่ยวกับของนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และศาลอาจสั่งริบของนั้นก็ได้ ไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่
    ผู้ใดพยายามกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน”

    หมายเหตุ ม.244 นี้เดิม คือ ความผิดฐานหลีกเลี่ยงข้อห้ามข้อจำกัด ตาม ม. 27 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 ประกอบกับ ม. 17 พ.ร.บ. ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 และ ม.58/1 การผ่านแดน การถ่ายลำ 

    ความผิดตามมาตรา 244 นี้สามารถแยกออกได้เป็น 2 ชนิด (ฐานความผิด) ดังนี้คือ ความผิดฐานนำของเข้าหรือส่งของออกโดยหลีกเลี่ยงข้อจำกัดข้อห้าม และความผิดฐานนำของเข้าเพื่อการผ่านแดนหรือการถ่ายลำโดยหลีกเลี่ยงข้อจำกัดข้อห้าม เดิมคือความผิดฐานหลีกเลี่ยงข้อห้ามข้อจำกัด ตาม มาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 ทั้งนี้ตาม ฏีกาที่ 8476/2540, 448/2513 ได้ระบุว่า ความผิดตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ได้แยกการกระทำความผิดไว้หลายอย่าง แต่ละอย่างเป็นความผิด อยู่ในตัวเองไม่เกี่ยวข้องกัน (ฏีกาท้ายเรื่อง)
  
   1. ความผิดฐานนำของเข้าหรือส่งของออกโดยหลีกเลี่ยงข้อจำกัดข้อห้าม
   องค์ประกอบภายนอก
      1) ผู้กระทำ คือ
          1.1) ผู้ใด
          1.2) ผู้ใช้หรือผู้สนับสนุน หรือสมคบกัน รับโทษเช่นเดียวกัน ม.245
          1.3) นิติบุคคลต้องรับโทษด้วย ตาม ม.253
      2) การกระทำ คือ
          2.1) นำของที่ผ่านหรือกำลังผ่านพิธีการศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักร
          2.2) ส่งของที่ผ่านหรือกำลังผ่านพิธีการศุลกากรออกไปนอกราชอาณาจักร
          2.3) พยายามเท่ากับความผิดสำเร็จ ม.244ว.2
          2.4) ช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำหรือรับไว้โดยประการใด...โดยรู้ว่าเป็นของอันเนื่องด้วยความผิดตามมาตรานี้ ผิดตาม ม.246 ว.3
          2.5) นำหรือยอมให้ผู้อื่นนำของต้องห้าม ต้องกำกัด ขึ้นบรรทุกหรืออกจากยานพาหนะ รับโทษเช่นเดียวกัน ตาม ม.247
       3) วัตถุแห่งการกระทำ คือ โดยหลีกเลี่ยงข้อจำกัดหรือข้อห้ามอันเกี่ยวกับของนั้น
       4) ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล คือ ถ้าหากไม่มีการกระทำนั้นๆ แล้ว ผลก็จะไม่เกิดขึ้น (Condition sine qua non)
     องค์ประกอบภายใน คือ เจตนา ให้ผู้กระทำต้องรับผิดแม้ได้กระทำโดยไม่มีเจตนา (ม.252)
     โทษทางอาญา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และศาลอาจสั่งริบของนั้นก็ได้ ไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่

Dr.Sangob: Elements of customs law 2017 (Section 244) 

    2.ความผิดฐานนำของเข้าเพื่อการผ่านแดนหรือการถ่ายลำโดยหลีกเลี่ยงข้อจำกัดข้อห้าม    องค์ประกอบภายนอก
       1) ผู้กระทำ คือ
           1.1) ผู้ใด
           1.2) ผู้ใช้หรือผู้สนับสนุน หรือสมคบกัน รับโทษเช่นเดียวกัน ม.245
           1.3) นิติบุคคลต้องรับโทษด้วย ตาม ม.253
        2) การกระทำ คือ
           2.1) นำของเข้าเพื่อการผ่านแดน
           2.2) นำของเข้าเพื่อการถ่ายลำ
           2.3) พยายามเท่ากับความผิดสำเร็จ ม.244ว.2
           2.4) ช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำหรือรับไว้โดยประการใด...โดยรู้ว่าเป็นของอันเนื่องด้วยความผิดตามมาตรานี้ ผิดตาม ม.246 ว.3
           2.5) นำหรือยอมให้ผู้อื่นนำของต้องห้าม ต้องกำกัด ขึ้นบรรทุกหรืออกจากยานพาหนะ รับโทษเช่นเดียวกัน ตาม ม.247
       3) วัตถุแห่งการกระทำ คือ โดยหลีกเลี่ยงข้อจำกัดหรือข้อห้ามอันเกี่ยวกับของนั้น
       4) ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล คือ ถ้าหากไม่มีการกระทำนั้นๆ แล้ว ผลก็จะไม่เกิดขึ้น (Condition sine qua non)
     องค์ประกอบภายใน คือ เจตนา ให้ผู้กระทำต้องรับผิดแม้ได้กระทำโดยไม่มีเจตนา (ม.252)
     โทษทางอาญา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และศาลอาจสั่งริบของนั้นก็ได้ ไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่

Dr.Sangob: Elements of customs law 2017 (Section 244)

Link
องค์ประกอบความผิดทางอาญาตามกฎหมายศุลกากร 2560: หลักการใช้กฎหมาย
- พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2560 (พร้อมคำอธิบายรายมาตรา)
ดร.สงบ สิทธิเดช
Online 2/2/19

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น