หมวด ๒
การจัดเก็บอากร
-----------------------------
ส่วนที่ ๑
การเสียอากร
-------------------------------
มาตรา ๑๓
การนําของเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ให้เรียกเก็บอากรจากผู้นําของเข้าหรือผู้ส่งของออกตามพระราชบัญญัตินี้และตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร
ความรับผิดในอันจะต้องเสียอากรสําหรับของที่นําเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรเกิดขึ้นในเวลาที่นําของเข้าสําเร็จหรือส่งของออกสําเร็จตามมาตรา
๕๐
ผู้นําของเข้าหรือผู้ส่งของออกมีหน้าที่เสียอากรเมื่อได้ยื่นใบขนสินค้าต่อพนักงานศุลกากรและพนักงานศุลกากรได้รับและออกเลขที่ใบขนสินค้าแล้ว
มาตรา ๑๔
การคํานวณอากรสําหรับของที่นําเข้ามาในราชอาณาจักร ให้คํานวณตามสภาพแห่งของ
ราคาศุลกากร และพิกัดอัตราศุลกากร ที่เป็นอยู่ในเวลาที่นําของเข้าสําเร็จ
เว้นแต่กรณีดังตอไปนี้
(๑)
กรณีของที่เก็บไว้ในคลังสินค้าทัณฑ์บน ให้คํานวณอากรตามสภาพแห่งของ
ราคาศุลกากรและพิกัดศุลกากร ที่เป็นอยู่ในเวลาที่นําเข้าสําเร็จ
แต่อัตราศุลกากรให้ถือตามอัตราศุลกากรที่ใช้อยู่ในเวลาซึ่งได้ปล่อยของเช่นว่านั้นออกไปจากคลังสินค้าทัณฑ์บน
ทั้งนี้ ไม่ว่าจะปล่อยของออกไปในสภาพเดิมที่นําเข้ามาหรือในสภาพอื่น
(๒)
กรณีของที่เก็บไว้ในคลังสินค้าทัณฑ์บนสูญหายหรือถูกทําลาย
ให้คํานวณอากรตามสภาพแห่งของ ราคาศุลกากร และพิกัดอัตราศุลกากร
ที่เป็นอยู่ในเวลาที่นําของเข้าเก็บในคลังสินค้าทัณฑ์บนนั้น
(๓)
กรณีของที่นําเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นของเพื่อการผ่านแดนหรือเพื่อการถ่ายลําและต่อมามีการขอเปลี่ยนการผ่านพิธีการศุลกากรเป็นของนําเข้าภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ในมาตรา
๑๐๒ วรรคสอง ให้คํานวณอากรตามสภาพแห่งของ ราคาศุลกากร และพิกัดอัตราศุลกากร ที่เป็นอยู่ในเวลาที่นําของนั้นเข้ามาในราชอาณาจักร
มาตรา ๑๕
การคํานวณอากรสําหรับของที่จะส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ให้คํานวณตามสภาพแห่งของ
ราคาศุลกากร และพิกัดอัตราศุลกากร
ที่เป็นอยู่ในเวลาที่พนักงานศุลกากรได้รับและออกเลขที่ใบขนสินค้าแล้ว
มาตรา ๑๖
เพื่อประโยชน์ในการคํานวณอากรตามพระราชบัญญัตินี้ให้ “ราคาศุลกากร” หมายถึงราคาดังต่อไปนี้
(๑) กรณีนําของเข้า
หมายถึงราคาแห่งของเพื่อความมุ่งหมายในการจัดเก็บอากรตามราคาอย่างใดอย่างหนึ่ง
ดังต่อไปนี้
(ก)
ราคาซื้อขายของที่นําเข้า
(ข) ราคาซื้อขายของที่เหมือนกัน
(ค)
ราคาซื้อขายของที่คล้ายกัน
(ง) ราคาหักทอน
(จ) ราคาคํานวณ
(ฉ) ราคาย้อนกลับ
(๒) กรณีส่งของออก
หมายถึงราคาขายส่งเงินสด ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลาและที่ที่ส่งของออกโดยไม่มีหักทอนหรือลดหย่อนราคาอย่างใด
(๓) กรณีนําของออกจากเขตปลอดอากร
หรือเขตประกอบการเสรีตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยหรือเขตอื่นใดในทํานองเดียวกันเพื่อใช้หรือจําหน่ายภายในราชอาณาจักรให้ใช้ราคาศุลกากรตาม
(๑) โดยอนุโลม
หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการใช้ราคาและการกําหนดราคาศุลกากรตาม (๑) ให้เป็นไปตามที่กําหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๑๗
การกําหนดราคาศุลกากรในกรณีนําของเข้าจะต้องรวมค่าประกันภัย ค่าขนส่งของ ค่าขนของลงค่าขนของขึ้นและค่าจัดการต่าง
ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการขนส่งของที่นําเข้ามายังด่านศุลกากร
ในกรณีที่ไม่มีมูลค่าของรายการค่าประกันภัยหรือค่าขนส่งของ
หรือไม่มีค่าขนของลง ค่าขนของขึ้นหรือค่าจัดการต่าง ๆ ตามที่กําหนดในวรรคหนึ่ง
การกําหนดมูลค่าของรายการดังกล่าวให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกําหนด
มาตรา ๑๘
ผู้ใดประสงค์จะขอทราบราคาศุลกากร ถิ่นกําเนิดแห่งของ หรือพิกัดอัตราศุลกากร ผู้นั้นอาจยื่นคําร้องขอต่ออธิบดีเพื่อให้พิจารณาเป็นการล่วงหน้าในเรื่องดังต่อไปนี้
(๑)
กําหนดราคาศุลกากรแห่งของที่จะนําเข้ามาในราชอาณาจักร
(๒)
กําหนดถิ่นกําเนิดแห่งของที่จะนําเข้ามาในราชอาณาจักรตามกฎว่าด้วยถิ่นกําเนิดตามที่ระบุไว้ในสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศ
(๓)
ตีความพิกัดอัตราศุลกากรตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากรเพื่อจําแนกประเภทแห่งของในพิกัดอัตราศุลกากร
การยื่น การพิจารณา
และการแจ้งผลการพิจารณาคําร้องขอ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกําหนด
ผลการพิจารณาคําร้องขอตามวรรคหนึ่ง
ผูกพันเฉพาะกรมศุลกากรและผู้ร้องขอตามระยะเวลาที่อธิบดีกําหนด
ส่วนที่ ๒
การประเมินอากร
––––––––––––––––––––––
มาตรา ๑๙
เมื่อพบว่าผู้มีหน้าที่เสียอากรไม่เสียอากรหรือเสียอากรไม่ครบถ้วน ให้พนักงานศุลกากรมีอํานาจประเมินอากรตามพระราชบัญญัตินี้และตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร
การประเมินอากรตามวรรคหนึ่ง
ให้ดําเนินการได้ภายในกําหนดสามปีนับแต่วันที่ได้ยื่นใบขนสินค้าเว้นแต่กรณีมีเหตุจําเป็นไม่อาจประเมินอากรได้ภายในกําหนดเวลาดังกล่าว
ให้ขอขยายระยะเวลาต่ออธิบดีได้อีกไม่เกินสองปี
ในกรณีที่ปรากฏหลักฐานที่อธิบดีเชื่อได้ว่าผู้มีหน้าที่เสียอากรมีเจตนาในการฉ้ออากรให้พนักงานศุลกากรมีอํานาจประเมินอากรได้อีกภายในกําหนดห้าปีนับแต่วันที่พ้นกําหนดระยะเวลาตามวรรคสอง
มาตรา ๒๐
เมื่อประเมินอากรแล้ว ให้พนักงานศุลกากรส่งแบบแจ้งการประเมินอากรให้แก่ผู้นําของเข้าหรือผู้ส่งของออกภายในกําหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่ประเมินอากรเสร็จ
ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกําหนด
ผู้นําของเข้าหรือผู้ส่งของออกต้องเสียอากรให้ครบถ้วนภายในกําหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแบบแจ้งการประเมินอากรนั้น
มาตรา ๒๑
สิทธิของกรมศุลกากรที่จะเรียกเก็บอากรที่ไม่ได้เสียหรือเสียไม่ครบถ้วนมีอายุความสิบปีนับแต่วันที่ได้ยื่นใบขนสินค้า
เว้นแต่การเรียกเก็บอากรที่ไม่ได้เสียหรือเสียไม่ครบถ้วนนั้นเกิดจากการคํานวณอากรผิด
ให้มีอายุความสองปีนับแต่วันที่ได้ยื่นใบขนสินค้า
ในกรณีที่สิทธิในการเรียกเก็บอากรที่เสียไว้ไม่ครบถ้วนตามวรรคหนึ่ง
มีจํานวนไม่เกินสองร้อยบาทต่อใบขนสินค้าหนึ่งฉบับ
อธิบดีจะสั่งให้งดการเรียกเก็บอากรที่เสียไม่ครบถ้วนนั้นก็ได้
หากของนั้นได้พ้นไปจากอารักขาของศุลกากรแล้ว
มาตรา ๒๒
ในกรณีที่ผู้นําของเข้าหรือผู้ส่งของออกไม่เสียอากรหรือเสียอากรไม่ครบถ้วนให้เรียกเก็บเงินเพิ่มอีกในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของอากรที่ต้องเสียหรือเสียเพิ่มโดยไม่คิดทบต้น
นับแต่วันที่นําของออกไปจากอารักขาของศุลกากรหรือส่งของออกไปนอกราชอาณาจักรจนถึงวันที่นําเงินมาชําระ
เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน
โดยเงินเพิ่มที่เรียกเก็บนี้ต้องไม่เกินอากรที่ต้องเสียหรือเสียเพิ่ม
ในกรณีที่ผู้นําของเข้าหรือผู้ส่งของออกไม่เสียอากรภายในกําหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแบบแจ้งการประเมินอากรตามมาตรา
๒๐ ให้เสียเบี้ยปรับร้อยละยี่สิบของอากรที่ต้องเสียหรือเสียเพิ่มเงินเพิ่มและเบี้ยปรับให้ถือเป็นเงินอากร
เงินเพิ่มอาจลดลงได้ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในกฎกระทรวง
สําหรับเบี้ยปรับอาจงดหรือลดลงได้ตามระเบียบที่อธิบดีกําหนดโดยอนุมัติของรัฐมนตรี
หมายเหตุดู คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3755/2564 "หลักการคิดเงินเพิ่มตาม กม. ศุลกากรเก่ากับ กม. ศุลกากรใหม่"
มาตรา ๒๓
ในกรณีที่ผู้นําของเข้าหรือผู้ส่งของออกค้างชําระค่าอากร
ให้อธิบดีมีอํานาจกักของที่ผู้นั้นนําเข้าหรือส่งออกและกําลังผ่านพิธีการศุลกากร
หรืออยู่ในความกํากับตรวจตราของศุลกากรได้จนกว่าผู้นําของเข้าหรือผู้ส่งของออกจะเสียอากรที่ค้างให้ครบถ้วน
และถ้าไม่เสียภายในกําหนดสามสิบวันนับแต่วันที่กักของนั้น ให้อธิบดีมีอํานาจสั่งให้นําของนั้นออกขายทอดตลาดได้
เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดตามวรรคหนึ่ง
ให้หักใช้ค่าอากรที่ค้างชําระ ค่าอากรสําหรับของที่ขายทอดตลาด ค่าเก็บรักษา
ค่าขนย้าย
หรือค่าภาระติดพันอย่างอื่นที่ค้างชําระแก่กรมศุลกากรรวมทั้งค่าภาษีอากรตามกฎหมายอื่นก่อน
เหลือเท่าใดให้ใช้ค่าภาระติดพันต่าง ๆ
ที่ต้องชําระแก่ผู้เก็บรักษาและผู้ขนส่งที่นําของที่ขายทอดตลาดนั้นเข้ามา
ตามลําดับ เมื่อได้หักใช้เช่นนี้แล้วยังมีเงินเหลืออยู่อีกเท่าใดให้คืนแก่เจ้าของ
แต่เมื่อพ้นกําหนดหกเดือนนับแต่วันขายทอดตลาดแล้ว เจ้าของไม่มาเรียกคืนให้เงินที่เหลืออยู่นั้นตกเป็นของแผ่นดิน
มาตรา ๒๔
ในการบังคับค่าอากรที่ค้างชําระ หากกรมศุลกากรได้ดําเนินการตามมาตรา ๒๓
แล้วยังไม่ได้รับค่าอากรหรือได้รับไม่ครบถ้วน ให้อธิบดีมีอํานาจสั่งยึดหรืออายัด
และขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียอากรได้ทั่วราชอาณาจักร
โดยมิต้องขอให้ศาลออกคําสั่งวิธีการยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สิน
ให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุโลม
ส่วนวิธีการอายัดให้ปฏิบัติตามระเบียบที่อธิบดีกําหนดโดยอนุมัติของรัฐมนตรี
เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดดังกล่าว
ให้หักค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายในการยึดและขายทอดตลาด
และค่าอากรที่ไม่ได้เสียหรือเสียไม่ครบถ้วน ถ้ามีเงินเหลือให้คืนแก่เจ้าของ
และค่าอากรที่ไม่ได้เสียหรือเสียไม่ครบถ้วน ถ้ามีเงินเหลือให้คืนแก่เจ้าของ
ส่วนที่ ๓
การคืนอากร
-------------------------
มาตรา ๒๕
ในกรณีที่ปรากฏว่ามีการเสียอากรไว้เกินจํานวนที่ต้องเสีย
ให้ดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(๑) ให้อธิบดีมีอํานาจคืนอากรส่วนที่เสียไว้เกินเฉพาะในเหตุที่ได้คํานวณอากรผิดโดยไม่ต้องมีคําร้องขอคืนอากร
แต่มิให้สั่งคืนเมื่อพ้นกําหนดสองปี
นับแต่วันที่ได้นําของเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร หรือ
(๒)
ให้ผู้นําของเข้าหรือผู้ส่งของออกมีสิทธิยื่นคําร้องขอคืนอากรภายในกําหนดสามปีนับแต่วันที่นําของเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกําหนด
มาตรา ๒๖
ในกรณีที่ได้เสียอากรเพื่อส่งของออกไปนอกราชอาณาจักรแล้ว
แต่มิได้ส่งของนั้นออกไปนอกราชอาณาจักร ให้ผู้ส่งของออกมีสิทธิยื่นคําร้องขอคืนอากรภายในกําหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่พนักงานศุลกากรได้รับใบขนสินค้าแล้ว
การยื่นคําร้องขอคืนอากรและการคืนอากรตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกําหนด
มาตรา ๒๗
ในกรณีที่ต้องคืนอากรหรือเงินประกันค่าอากรเพราะเหตุที่ได้เรียกไว้เกินจํานวนอันพึงต้องเสียหรือเสียเพิ่ม
ให้คืนเงินพร้อมด้วยดอกเบี้ยอีกร้อยละศูนย์จุดหกสองห้าต่อเดือนของจํานวนเงินที่ต้องคืนโดยไม่คิดทบต้นนับแต่วันที่ได้เสียอากรหรือวางเงินประกันอากรครั้งสุดท้ายจนถึงวันที่มีการอนุมัติให้จ่ายคืน
ในกรณีที่ได้เปลี่ยนการวางประกันอย่างอื่นเป็นการวางเงินประกันภายหลังจากที่ได้นําของออกไปจากอารักขาของศุลกากรหรือส่งของออกไปนอกราชอาณาจักรแล้ว
ให้คํานวณดอกเบี้ยสําหรับจํานวนเงินประกันที่ต้องคืนนับแต่วันที่วางเงินประกันครั้งสุดท้ายแทนการวางประกันจนถึงวันที่อนุมัติให้จ่ายคืนดอกเบี้ยที่จ่ายตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง
มิให้เกินจํานวนเงินอากรหรือเงินประกันค่าอากรที่ต้องคืน
ในการคํานวณดอกเบี้ยตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง
เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน
และดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายนี้ให้ถือเป็นอากรที่ต้องจ่ายคืน
มาตรา ๒๘ ผู้นําของเข้ามาในราชอาณาจักรและเสียอากรแล้ว
หากส่งของนั้นกลับออกไปนอกราชอาณาจักร
หรือส่งไปเป็นของใช้สิ้นเปลืองในเรือหรืออากาศยานที่เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรให้มีสิทธิขอคืนอากรขาเข้าสําหรับของนั้นเก้าในสิบส่วนหรือส่วนที่เกินหนึ่งพันบาทของจํานวนที่ได้เรียกเก็บไว้โดยคํานวณตามใบขนสินค้าขาออกแต่ละฉบับ
แล้วแต่จํานวนใดจะสูงกว่า ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(๑)
ต้องพิสูจน์ได้ว่าเป็นของรายเดียวกันกับที่นําเข้ามาในราชอาณาจักร
(๒)
ต้องไม่นําของนั้นไปใช้ประโยชน์ในระหว่างที่อยู่ในราชอาณาจักร
เว้นแต่การใช้ประโยชน์เพื่อส่งของนั้นกลับออกไปนอกราชอาณาจักร
และมิได้เปลี่ยนแปลงสภาพหรือลักษณะแห่งของนั้น
(๓)
ได้ส่งของนั้นกลับออกไปนอกราชอาณาจักรภายในกําหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่นําของนั้นเข้ามาในราชอาณาจักร
และ
(๔)
ต้องขอคืนอากรภายในกําหนดหกเดือนนับแต่วันที่ส่งของนั้นกลับออกไปนอกราชอาณาจักร
การขอคืนอากร
การพิสูจน์ของ การส่งของกลับออกไป และการคืนอากร ตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกําหนด
มาตรา ๒๙
ผู้นําของเข้ามาในราชอาณาจักรและเสียอากรแล้ว เพื่อใช้สําหรับผลิต ผสม ประกอบ
บรรจุ หรือดําเนินการด้วยวิธีอื่นใด หากส่งของที่ได้จากการดําเนินการดังกล่าวออกไปนอกราชอาณาจักร
หรือส่งไปเป็นของใช้สิ้นเปลืองในเรือหรืออากาศยานที่เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร
ให้มีสิทธิขอคืนอากรขาเข้าสําหรับของที่นําเข้ามาในราชอาณาจักรนั้น
ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(๑)
ต้องพิสูจน์ได้ว่าได้ผลิต ผสม ประกอบ บรรจุ
หรือดําเนินการด้วยวิธีอื่นใดด้วยของที่นําเข้ามาในราชอาณาจักร
(๒)
ต้องพิสูจน์ได้ว่าของที่นําไปใช้ในการผลิต ผสม ประกอบ บรรจุ หรือดําเนินการด้วยวิธีอื่นใดนั้นมีปริมาณไม่เกินที่อธิบดีประกาศกําหนด
(๓)
ได้ส่งของที่ได้จากการผลิต ผสม ประกอบ บรรจุ หรือดําเนินการด้วยวิธีอื่นใดนั้นออกไปนอกราชอาณาจักรภายในกําหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่นําของที่ใช้ในการผลิต
ผสม ประกอบ บรรจุ หรือดําเนินการด้วยวิธีอื่นใดเข้ามาในราชอาณาจักร
เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัยทําให้ไม่อาจส่งของดังกล่าวออกไปภายในกําหนดหนึ่งปี ให้อธิบดีขยายระยะเวลาได้
แต่ต้องไม่เกินหกเดือน และ
(๔)
ต้องขอคืนอากรภายในกําหนดหกเดือนนับแต่วันที่ส่งของออกไปนอกราชอาณาจักรเว้นแต่อธิบดีจะขยายระยะเวลาให้แต่ต้องไม่เกินหกเดือน
การขอคืนอากร
การพิสูจน์ของ การส่งของออกไป และการคืนอากร ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกําหนด
มาตรา ๓๐
ผู้นําของเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อใช้สําหรับผลิต ผสม ประกอบ บรรจุหรือดําเนินการด้วยวิธีอื่นใดตามมาตรา
๒๙
เพื่อส่งออกไปนอกราชอาณาจักรหรือส่งไปเป็นของใช้สิ้นเปลืองในเรือหรืออากาศยานที่เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร
อาจร้องขอต่ออธิบดีวางประกันอย่างหนึ่งอย่างใดแทนการเสียอากรขาเข้า ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกําหนด
การคืนประกันที่ผู้นําของเข้าได้วางไว้แทนการเสียอากรตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกําหนด
มาตรา ๓๑
การโอนของที่ได้จากการผลิต ผสม ประกอบ บรรจุ หรือดําเนินการด้วยวิธีอื่นใดตามมาตรา
๒๙
เข้าไปในคลังสินค้าทัณฑ์บนหรือจําหน่ายให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับยกเว้นอากรตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากรหรือกฎหมายอื่น
ให้ถือว่าเป็นการส่งของออกไปนอกราชอาณาจักร และเป็นการส่งของออกสําเร็จในเวลาที่โอนหรือจําหน่ายของนั้น
ทั้งนี้ ให้นําบทบัญญัติมาตรา ๒๙ และมาตรา ๓๐ มาใช้บังคับกับการคืนอากรหรือประกันอย่างอื่นแก่ผู้นําของเข้าโดยอนุโลม
การรับของที่ได้โอนหรือจําหน่ายตามวรรคหนึ่ง
ให้ถือว่าเป็นการนําเข้ามาในราชอาณาจักรนับแต่เวลาที่ได้โอนหรือจําหน่ายของนั้น
และให้นําบทบัญญัติเกี่ยวกับการนําของเข้ามาใช้บังคับโดยอนุโลม
การโอนของเข้าไปในคลังสินค้าทัณฑ์บน
การจําหน่ายของแก่ผู้มีสิทธิได้รับยกเว้นอากร และการรับของดังกล่าว
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกําหนด
ส่วนที่ ๔
การวินิจฉัยอากรและการอุทธรณ์การประเมินอากร
----------------------------------
มาตรา ๓๒
ให้มีคณะกรรมการวินิจฉัยอากรศุลกากร ประกอบด้วย
ปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานกรรมการ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา อธิบดีกรมศุลกากร
อธิบดีกรมสรรพากร อธิบดีกรมสรรพสามิต ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง
และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจํานวนไม่เกินสามคน เป็นกรรมการ
ให้อธิบดีแต่งตั้งข้าราชการในกรมศุลกากรคนหนึ่งเป็นเลขานุการและอีกไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
มาตรา ๓๓
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๓๒ มีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละสามปี และอาจได้รับแต่งตั้งใหม่อีกได้
ในกรณีที่กรรมการตามวรรคหนึ่งพ้นจากตําแหน่งก่อนวาระ
ให้ดําเนินการแต่งตั้งกรรมการแทนภายในกําหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ตําแหน่งกรรมการว่างลง
เว้นแต่วาระของกรรมการเหลือไม่ถึงสามสิบวันจะไม่แต่งตั้งกรรมการแทนก็ได้
ในกรณีที่กรรมการตามวรรคหนึ่งพ้นจากตําแหน่งก่อนวาระ
ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งแทนตําแหน่งที่ว่างอยู่ในตําแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้
แล้วเมื่อครบกําหนดตามวาระในวรรคหนึ่ง
หากยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่ ให้กรรมการซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตําแหน่งเพื่อดําเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่
มาตรา ๓๔
นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระตามมาตรา ๓๓ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๓๒
พ้นจากตําแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓)
รัฐมนตรีให้ออกเพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือหย่อนความสามารถ
(๔) เป็นบุคคลล้มละลาย
คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๕)
ได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก
เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
มาตรา ๓๕ การประชุมคณะกรรมการวินิจฉัยอากรศุลกากรต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมด
จึงจะเป็นองค์ประชุม
ในการประชุมคณะกรรมการวินิจฉัยอากรศุลกากร
ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
ในการปฏิบัติหน้าที่
ถ้ามีการพิจารณาในเรื่องที่ประธานกรรมการหรือกรรมการผู้ใดมีส่วนได้เสีย ประธานกรรมการหรือกรรมการผู้นั้นไม่มีสิทธิเข้าร่วมประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน
ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา ๓๖
คณะกรรมการวินิจฉัยอากรศุลกากรมีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑)
กําหนดขอบเขตการใช้อํานาจของพนักงานศุลกากร
(๒) กําหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และระยะเวลาในการตรวจสอบและประเมินอากร
(๓)
วินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับอากรที่กรมศุลกากรขอความเห็น
(๔)
ให้คําปรึกษาหรือเสนอแนะแก่รัฐมนตรีในการจัดเก็บอากร
การกําหนดตาม (๑) และ
(๒) เมื่อได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้พนักงานศุลกากรปฏิบัติตาม
คําวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยอากรศุลกากรตาม
(๓) ให้เป็นที่สุด
มาตรา ๓๗
ผู้นําของเข้าหรือผู้ส่งของออกมีสิทธิอุทธรณ์การประเมินอากรต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายในกําหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแบบแจ้งการประเมินอากร
การยื่นอุทธรณ์และวิธีพิจารณาอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกําหนด
มาตรา ๓๘
การอุทธรณ์การประเมินอากรตามมาตรา ๓๗
ไม่เป็นเหตุทุเลาการเสียอากรตามที่พนักงานศุลกากรประเมินไว้
เว้นแต่ผู้อุทธรณ์ได้รับอนุญาตจากอธิบดีให้รอคําวินิจฉัยอุทธรณ์หรือคําพิพากษาถึงที่สุด
ผู้อุทธรณ์ที่ได้รับอนุญาตให้ทุเลาการเสียอากรตามวรรคหนึ่ง
ต้องเสียอากรให้ครบถ้วนภายในกําหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการจําหน่ายอุทธรณ์หรือคําวินิจฉัยอุทธรณ์
หรือนับแต่วันได้รับทราบคําพิพากษาถึงที่สุด
ในกรณีที่มีคําวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสียอากรเพิ่มขึ้น
ผู้อุทธรณ์จะต้องเสียอากรภายในกําหนดระยะเวลาเช่นเดียวกับวรรคสอง
มาตรา ๓๙
ให้มีคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ประกอบด้วย อธิบดีกรมศุลกากรเป็นประธานกรรมการ
ผู้แทนกรมสรรพากร ผู้แทนกรมสรรพสามิต ผู้แทนสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และผู้แทนสํานักงานอัยการสูงสุด เป็นกรรมการ
ให้อธิบดีแต่งตั้งข้าราชการในกรมศุลกากรคนหนึ่งเป็นเลขานุการและอีกไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
มาตรา ๔๐
ในกรณีที่มีความจําเป็นและรัฐมนตรีเห็นเป็นการสมควรอาจกําหนดให้มีคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เพิ่มเติมอีกคณะหนึ่งหรือหลายคณะก็ได้
โดยให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวมีองค์ประกอบตามที่กําหนดไว้ในมาตรา ๓๙
มาตรา ๔๑
ให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในกําหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พนักงานศุลกากรได้รับอุทธรณ์และมีเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวกับการอุทธรณ์นั้นครบถ้วน
ในกรณีที่มีเหตุจําเป็น
คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์อาจขยายระยะเวลาพิจารณาอุทธรณ์ออกไปอีกได้
แต่ต้องไม่เกินเก้าสิบวัน
มาตรา ๔๒
หากคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่พิจารณาอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในกําหนดเวลาตามมาตรา
๔๑ วรรคหนึ่ง ผู้นําของเข้าหรือผู้ส่งของออกมีสิทธินําคดีไปฟ้องต่อศาลได้
ในกรณีที่ผู้นําของเข้าหรือผู้ส่งของออกนําคดีไปฟ้องต่อศาล
ให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยกอุทธรณ์ของผู้นําของเข้าหรือผู้ส่งของออกนั้น
มาตรา ๔๓
ให้นําบทบัญญัติมาตรา ๓๕
มาใช้บังคับกับการประชุมของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์โดยอนุโลม
มาตรา ๔๔ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่จะมอบหมาย
ให้นําบทบัญญัติมาตรา
๓๕ มาใช้บังคับกับการประชุมของคณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม
มาตรา ๔๕
คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือคณะอนุกรรมการตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง มีอํานาจออกหนังสือเรียกผู้อุทธรณ์หรือขอให้บุคคลซึ่งเกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคํา
หรือส่งบัญชี เอกสารหลักฐาน ข้อมูล
หรือสิ่งของที่เกี่ยวกับเรื่องที่อุทธรณ์มาแสดงได้ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใด ๆ
โดยต้องให้เวลาแก่บุคคลดังกล่าวไม่น้อยกว่าสิบห้าวันนับแต่วันได้รับหนังสือเรียกหรือวันได้รับแจ้งการร้องขอ
ผู้อุทธรณ์ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหนังสือเรียกตามวรรคหนึ่ง
หรือไม่ยอมให้ถ้อยคําโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
ให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยกอุทธรณ์นั้นเสีย
มาตรา ๔๖
ในกรณีที่ผู้อุทธรณ์ยื่นคําร้องขอถอนอุทธรณ์ ให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จําหน่ายอุทธรณ์นั้น
มาตรา ๔๗
คําวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด
โดยให้ทําเป็นหนังสือและแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบ
มาตรา ๔๘
ในกรณีที่ผู้อุทธรณ์ไม่พอใจคําวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ผู้อุทธรณ์มีสิทธิฟ้องเป็นคดีต่อศาลภายในกําหนดสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งคําวินิจฉัยอุทธรณ์
เว้นแต่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะจําหน่ายอุทธรณ์ตามมาตรา ๔๖
มาตรา ๔๙
ให้กรรมการในคณะกรรมการวินิจฉัยอากรศุลกากร กรรมการในคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
และอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แต่งตั้ง
เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
ดร.สงบ สิทธิเดช
Online 19-May-17
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น