วันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

หมวด ๙ บทกำหนดโทษ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. ๒๕๖๐

หมวด ๙
บทกำหนดโทษ
                  

มาตรา ๒๐๒  ผู้ใดยื่น จัดให้ หรือยอมให้ผู้อื่นยื่นใบขนสินค้า เอกสาร หรือข้อมูล ซึ่งเกี่ยวกับการเสียอากรหรือการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ไม่ถูกต้องหรือไม่บริบูรณ์ อันอาจก่อให้เกิดความสำคัญผิดในรายการใด ๆ ที่ได้แสดงไว้ในใบขนสินค้า เอกสาร หรือข้อมูลดังกล่าวต่อพนักงานศุลกากร ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท

มาตรา ๒๐๓  ผู้ใดแจ้งข้อความ ให้ถ้อยคำ หรือตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จ หรือไม่ตอบคำถามของพนักงานศุลกากรตามที่พระราชบัญญัตินี้กำหนดให้ตอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๒๐๔  ผู้ใดปลอมหรือแปลงเอกสารที่ใช้ในการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ หรือแก้ไขเอกสารที่ทางราชการออกให้ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ หรือปลอมดวงตราลายมือชื่อ หรือเครื่องหมายอื่นใดของพนักงานศุลกากรที่ใช้เพื่อการอย่างใดอันเกี่ยวด้วยพระราชบัญญัตินี้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใดใช้เอกสาร ดวงตรา ลายมือชื่อ หรือเครื่องหมาย ที่เกิดจากการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน

มาตรา ๒๐๕  ผู้ส่งของออกผู้ใดยื่นใบขนสินค้าขาออกเพื่อขอคืนอากรโดยแสดงข้อมูลเกี่ยวกับของไม่ถูกต้องและพนักงานศุลกากรพบว่าของนั้นไม่ตรงตามที่แสดงไว้ หรือมีปริมาณน้อยกว่าที่แสดงหรือไม่มีการส่งออกตามที่แสดง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือปรับเป็นเงินสี่เท่าของจำนวนเงินอากรที่ขอคืน แล้วแต่จำนวนใดจะมากกว่า หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ริบของนั้น

มาตรา ๒๐๖  ผู้นำของเข้าผู้ใดขอคืนอากรตามมาตรา ๒๘ หรือมาตรา ๒๙ โดยความเท็จโดยฉ้อโกงหรืออุบายหลอกลวง หรือโดยวิธีการอื่นใดทำนองเดียวกัน เพื่อขอคืนอากรเกินกว่าจำนวนที่มีสิทธิได้รับจริง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือปรับเป็นเงินสี่เท่าของจำนวนเงินอากรที่ขอคืนเกินกว่าจำนวนที่มีสิทธิได้รับจริง แล้วแต่จำนวนใดจะมากกว่า หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๒๐๗  ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเก็บหรือขนถ่ายสินค้าอันตรายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

มาตรา ๒๐๘  ผู้นำ ของเข้าหรือผู้ส่งของออกผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๕๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

มาตรา ๒๐๙  ผู้ควบคุมยานพาหนะผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๕๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

มาตรา ๒๑๐ ผู้ใดขนถ่ายของที่นำเข้ามาในหรือจะส่งออกไปนอกราชอาณาจักร นอกเขตขนถ่ายของตามมาตรา ๕๘ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือปรับเป็นเงินสามเท่าของราคาของ แล้วแต่จำนวนใดจะมากกว่า หรือทั้งจำทั้งปรับและให้ริบของนั้น

มาตรา ๒๑๑  ผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกผู้ใดไม่จัดให้มีเครื่องหมายหรือเลขหมายกำกับหีบห่อหรือภาชนะบรรจุของ หรือไม่แสดงเครื่องหมายหรือเลขหมายไว้ในเอกสารที่เกี่ยวกับของนั้น ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

มาตรา ๒๑๒  ผู้ควบคุมยานพาหนะผู้ใดควบคุมยานพาหนะที่มีของเป็นหีบห่อหรือภาชนะบรรจุซึ่งมีขนาดหรือลักษณะขัดต่อกฎหมาย หรือไม่มีเครื่องหมายหรือฉลากที่กฎหมายกำหนดให้ต้องมีต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท และให้ริบของนั้น

มาตรา ๒๑๓  ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๖๓ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๒๑๔  นายเรือผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๖๔ มาตรา ๗๑ มาตรา ๘๕ ประกอบกับมาตรา ๗๑ หรือมาตรา ๑๖๓ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

มาตรา ๒๑๕  นายเรือผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานศุลกากรตามมาตรา ๖๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

มาตรา ๒๑๖  นายเรือหรือผู้ควบคุมอากาศยานผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๖๗ หรือมาตรา ๙๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

มาตรา ๒๑๗  ผู้ใดนอกจากนายเรือ ลูกเรือ ผู้โดยสาร และผู้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติบนเรือขึ้นไปบนเรือเดินต่างประเทศขณะที่อยู่ในราชอาณาจักร โดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานศุลกากร ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

มาตรา ๒๑๘  นายเรือผู้ใดควบคุมเรือที่บรรทุกของอยู่ในเขตท่าที่เป็นด่านศุลกากร และปรากฏว่าเรือลำดังกล่าวเบาลอยตัวขึ้น โดยนายเรือไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าได้มีการขนของขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมาย ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท และให้ศาลมีอำนาจสั่งริบเรือนั้นได้

มาตรา ๒๑๙  นายเรือหรือผู้ควบคุมยานพาหนะทางบกผู้ใดกระทำการดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท
(๑) ควบคุมเรือหรือยานพาหนะทางบกที่มีที่ปิดบัง ที่อำพราง หรือมีเครื่องกลอุบายอย่างใดเพื่อลักลอบหนีศุลกากร เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าได้ใช้ความระมัดระวังในการป้องกันมิให้มีที่ปิดบัง ที่อำพราง หรือเครื่องกลอุบายนั้นแล้ว หรือ
(๒) มีส่วนรู้เห็นในการสร้าง ทำ วาง หรือใช้ที่ปิดบัง ที่อำพราง หรือเครื่องกลอุบายอย่างใดเพื่อลักลอบหนีศุลกากร
ให้ทำลายที่หรือเครื่องกลอุบายตามวรรคหนึ่ง หรือทำให้เป็นของที่มิได้มีไว้เพื่อกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๒๒๐  ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา ๗๐ หรือมาตรา ๑๗๖ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

มาตรา ๒๒๑  นายเรือผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗๒ มาตรา ๗๔ มาตรา ๗๗ มาตรา ๘๐ มาตรา ๘๒ วรรคสอง มาตรา ๘๔ วรรคหนึ่ง มาตรา ๘๕ ประกอบกับมาตรา ๗๗ หรือมาตรา ๑๘๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

มาตรา ๒๒๒  ผู้ส่งของออกผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗๖ วรรคสอง มาตรา ๙๐ วรรคสองหรือมาตรา ๙๘ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

มาตรา ๒๒๓  นายเรือผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗๙ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท และให้ริบของที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดดังกล่าว

มาตรา ๒๒๔  ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๑ มาตรา ๙๒ มาตรา ๑๒๐ หรือมาตรา ๑๒๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

มาตรา ๒๒๕  ผู้ส่งของออกผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๒ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

มาตรา ๒๒๖  นายเรือหรือผู้ส่งของออกผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

มาตรา ๒๒๗  ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๖ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือนถึงสิบปี หรือปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ริบของที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดดังกล่าว ไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่

มาตรา ๒๒๘  นายเรือผู้ใดจอดเทียบท่าหรือขนถ่ายของที่นำเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรนอกจากเขตพื้นที่ตามลำน้ำที่เป็นเขตแดนทางบกตามที่อธิบดีประกาศกำหนดตามมาตรา ๘๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

มาตรา ๒๒๙  ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๘ หรือมาตรา ๘๙ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท และให้อายัดของที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดนั้นจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง

มาตรา ๒๓๐  ผู้ควบคุมอากาศยานผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา ๙๓ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
เจ้าของหรือพนักงานประจำสนามบินผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๙๓ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

มาตรา ๒๓๑  ผู้ควบคุมอากาศยานผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๙๔ หรือมาตรา ๙๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท และให้อายัดของที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดนั้นจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง

มาตรา ๒๓๒  ผู้ควบคุมอากาศยานผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๙๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

มาตรา ๒๓๓  ผู้ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๑๑๒ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๑๕ หรือมาตรา ๑๒๙ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บน โรงพักสินค้า หรือที่มั่นคงผู้ใด เมื่อได้แจ้งการเลิกการดำเนินการตามมาตรา ๑๒๙ แล้ว แต่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๓๐ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

มาตรา ๒๓๔  ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานศุลกากรผู้กำกับท่าเรือรับอนุญาตตามมาตรา ๑๑๙ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

มาตรา ๒๓๕  ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา ๑๒๒ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท และให้ริบของที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดดังกล่าว

มาตรา ๒๓๖  ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๒๓ หรือมาตรา ๑๗๒ หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา ๑๕๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

มาตรา ๒๓๗  ผู้ใดลักลอบเปิดคลังสินค้าทัณฑ์บน โรงพักสินค้า หรือที่มั่นคง หรือล่วงเข้าไปถึงของที่อยู่ในคลังสินค้าทัณฑ์บน โรงพักสินค้า หรือที่มั่นคงนั้น โดยไม่มีเหตุอันชอบด้วยกฎหมาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๒๓๘  ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งเขตปลอดอากรผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๔๑ มาตรา ๑๔๒ หรือมาตรา ๑๔๓ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

มาตรา ๒๓๙  ผู้ใดขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานศุลกากรซึ่งอธิบดีมอบหมายตามมาตรา ๑๕๗ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๒๔๐  ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานศุลกากรหรือขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานศุลกากรตามมาตรา ๑๖๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

มาตรา ๒๔๑  นายเรือผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำเตือนของพนักงานศุลกากรหรือขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานศุลกากรตามมาตรา ๑๖๔ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


                     ผู้ใดพยายามกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3311/2561
       ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 ได้ถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2560 โดย พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2560 มาตรา 242 ยังบัญญัติว่า การพยายามนำของซึ่งยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากรเป็นความผิดอยู่ ถือไม่ได้ว่า พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2560 ยกเลิกความผิดฐานนี้ และมาตราดังกล่าวกำหนดอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ริบของนั้นไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ แต่ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 บัญญัติว่า สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งปรับทั้งจำ ดังนั้น จึงต้องบังคับตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 ซึ่งเป็นกฎหมายที่เป็นคุณกว่าตาม ป.อ. มาตรา 3 
      มาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ.2489 บัญญัติให้จ่ายสินบนและรางวัลจากเงินที่ได้จากการขายของกลางซึ่งศาลสั่งริบเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว หากของกลางที่ศาลสั่งริบไม่อาจขายได้ให้จ่ายจากเงินค่าปรับที่ได้ชำระต่อศาล เมื่อคดีนี้มีการคืนของกลางให้เจ้าของไปแล้วและศาลใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสามโดยไม่ปรับ กรณีจึงไม่มีเงินค่าปรับและของกลางที่จะสั่งจ่ายเป็นเงินรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 8 ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2757/2561
      การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองฐานพยายามส่งของออกไปนอกราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงข้อจำกัดอันเกี่ยวกับของนั้นเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 และ พ.ร.บ.การส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ.2522 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง, 20 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษตามกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 เมื่อ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 มีระวางโทษสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งปรับทั้งจำ โดยความผิดฐานนี้ไม่ว่าจะเป็นพยายามกระทำความผิดหรือกระทำความผิดสำเร็จ กฎหมายกำหนดโทษไว้เท่ากัน และตาม พ.ร.บ.การส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ.2522 มาตรา 20 วรรคหนึ่ง มีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับห้าเท่าของสินค้าที่ส่งออกหรือนำเข้า หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยไม่ได้บัญญัติการพยายามกระทำความผิดต้องระวางโทษเช่นเดียวกับความผิดสำเร็จ จึงต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นตาม ป.อ. มาตรา 80 ศาลจึงลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.การส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าฯ มาตรา 20 วรรคหนึ่ง ได้เพียง 6 ปี 8 เดือน โทษจำคุกตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 จึงเป็นโทษหนักกว่าความผิดฐานนี้ จึงต้องลงโทษตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 
       ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มี พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2560 มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 โดย พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2560 มาตรา 244 บัญญัติให้การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองตามฟ้องฐานพยายามส่งออกไปนอกราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงข้อจำกัดอันเกี่ยวกับของนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แตกต่างกับโทษตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 ซึ่งบัญญัติให้ลงโทษสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งปรับทั้งจำ โดยความผิดฐานนี้ไม่ว่าจะเป็นพยายามกระทำความผิด หรือกระทำความผิดสำเร็จ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2560 มาตรา 244 กำหนดโทษไว้เท่ากัน เมื่อโทษจำคุกตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 และ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2560 มาตรา 244 มีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี เท่ากัน แต่คดีนี้เมื่อคำนวณปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว เป็นเงิน 5,410,932 บาท โทษปรับตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2560 มาตรา 244 ซึ่งปรับไม่เกิน 500,000 บาท จึงเป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองมากกว่าโทษปรับตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด การกำหนดโทษปรับจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2560 ดังกล่าว ต้องกำหนดให้จำเลยทั้งสองรับผิดค่าปรับในลักษณะรวมกันตามบทบัญญัติ มาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 อันเป็นการใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยทั้งสองไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6998/2562 
"ยินยอมให้นำรถยนต์กระบะของกลางไปใช้กระทำความผิดกรณีถือได้ว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วย"
        ตามพฤติการณ์แห่งคดีส่อแสดงว่าผู้ร้องยินยอมอนุญาตให้จำเลยที่ 3 นำรถยนต์กระบะของกลางไปใช้ได้ตลอดเวลาตามที่จำเลยที่ 3 ต้องการ โดยไม่คำนึงว่าจำเลยที่ 3 จะนำไปใช้ในกิจการใด ดังนั้น การที่จำเลยที่ 3 กับพวกนำรถยนต์กระบะของกลางไปใช้กระทำความผิด กรณีถือได้ว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 3 กับพวกโดยปริยาย ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอคืนรถยนต์ของกลาง

มาตรา ๒๔๕  ผู้ใดเป็นผู้ใช้หรือผู้สนับสนุน หรือสมคบกันในการกระทำความผิดตามมาตรา ๒๔๒ มาตรา ๒๔๓ หรือมาตรา ๒๔๔ ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับตัวการในการกระทำความผิดนั้น

มาตรา ๒๔๖  ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำหรือรับไว้โดยประการใดซึ่งของอันตนพึงรู้ว่าเป็นของอันเนื่องด้วยความผิดตามมาตรา ๒๔๒ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วหรือทั้งจำทั้งปรับ
การกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง หากเป็นการกระทำโดยรู้ว่าเป็นของอันเนื่องด้วยความผิดตามมาตรา ๒๔๓ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับเป็นเงินตั้งแต่ครึ่งเท่าแต่ไม่เกินสี่เท่าของค่าอากรที่ต้องเสียเพิ่ม หรือทั้งจำทั้งปรับ
การกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง หากเป็นการกระทำโดยรู้ว่าเป็นของอันเนื่องด้วยความผิดตามมาตรา ๒๔๔ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6998/2562 
"ยินยอมให้นำรถยนต์กระบะของกลางไปใช้กระทำความผิดกรณีถือได้ว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วย"
        ตามพฤติการณ์แห่งคดีส่อแสดงว่าผู้ร้องยินยอมอนุญาตให้จำเลยที่ 3 นำรถยนต์กระบะของกลางไปใช้ได้ตลอดเวลาตามที่จำเลยที่ 3 ต้องการ โดยไม่คำนึงว่าจำเลยที่ 3 จะนำไปใช้ในกิจการใด ดังนั้น การที่จำเลยที่ 3 กับพวกนำรถยนต์กระบะของกลางไปใช้กระทำความผิด กรณีถือได้ว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 3 กับพวกโดยปริยาย ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอคืนรถยนต์ของกลาง


                        มาตรา ๒๔๗  ผู้ใดนำหรือยอมให้ผู้อื่นนำของต้องห้าม ของต้องกำกัด หรือของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากร ขึ้นบรรทุกหรือออกจากยานพาหนะ ต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๔๒ หรือมาตรา ๒๔๔ แล้วแต่กรณี

มาตรา ๒๔๘  ในกรณีที่มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๒๔๒ เกิดขึ้นในเรือที่มีระวางบรรทุกเกินสองร้อยห้าสิบตันกรอสหรืออากาศยาน หากนายเรือหรือผู้ควบคุมอากาศยานนั้นไม่ใช้ความระมัดระวังในการป้องกันมิให้มีการกระทำความผิดนั้น ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท

มาตรา ๒๔๙  ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา ๑๗๗ วรรคสอง หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๘๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

มาตรา ๒๕๐  นายเรือผู้ใดไม่ตอบคำถามหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานศุลกากรตามมาตรา ๑๘๘ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

มาตรา ๒๕๑  ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๘๙ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือปรับเป็นเงินสองเท่าของราคาของ แล้วแต่จำนวนใดจะมากกว่า หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๒๕๒  การกระทำความผิดตามมาตรา ๒๐๒ มาตรา ๒๔๒ หรือมาตรา ๒๔๔ ให้ผู้กระทำต้องรับผิดแม้ได้กระทำโดยไม่มีเจตนา

มาตรา ๒๕๓  ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย

มาตรา ๒๕๔  การประเมินราคาของเพื่อกำหนดค่าปรับตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือตามราคาแห่งของชนิดเดียวกันซึ่งได้เสียอากรครบถ้วนแล้วตามที่ซื้อขายในเวลาหรือใกล้เวลาที่กระทำความผิดนั้น เว้นแต่ไม่มีราคาดังกล่าวให้ถือตามราคาที่อธิบดีกำหนด

มาตรา ๒๕๕  ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งจ่ายเงินสินบนและรางวัลตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดโดยได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรี ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) ความผิดตามมาตรา ๒๔๒ มาตรา ๒๔๔ เฉพาะกรณีความผิดฐานหลีกเลี่ยงข้อห้ามและมาตรา ๒๔๖ ให้หักจ่ายเป็นเงินสินบนและรางวัลร้อยละสี่สิบจากเงินค่าขายของกลาง โดยให้หักจ่ายเป็นเงินสินบนร้อยละยี่สิบ และเป็นเงินรางวัลร้อยละยี่สิบ แต่กรณีที่มิได้ริบของกลางหรือของกลางไม่อาจจำหน่ายได้ให้หักจ่ายจากเงินค่าปรับ
(๒) ความผิดตามมาตรา ๒๐๒ มาตรา ๒๔๓ และมาตรา ๒๔๔ เฉพาะกรณีความผิดฐานหลีกเลี่ยงข้อจำกัดให้หักจ่ายเป็นเงินรางวัลร้อยละยี่สิบจากเงินค่าขายของกลาง แต่กรณีที่มิได้ริบของกลางหรือของกลางไม่อาจจำหน่ายได้ให้หักจ่ายจากเงินค่าปรับ
(๓) กรณีที่มีการตรวจเก็บอากรขาด และเจ้าหน้าที่ผู้สำรวจเงินอากรตรวจพบเป็นผลให้เรียกอากรเพิ่มเติมได้ ให้จ่ายเงินรางวัลร้อยละสิบของเงินอากรที่กรมศุลกากรเรียกเก็บเพิ่มเติมได้
เงินสินบนและรางวัลตาม (๑) และ (๒) ให้หักจ่ายเป็นเงินสินบนได้ไม่เกินคดีละห้าล้านบาทและหักจ่ายเป็นเงินรางวัลได้ไม่เกินคดีละห้าล้านบาท และตาม (๓) ให้หักจ่ายเป็นเงินรางวัลได้ไม่เกินห้าล้านบาทต่อการตรวจพบ

มาตรา ๒๕๖  ภายใต้บังคับมาตรา ๒๕๗ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ถ้าบุคคลนั้นยินยอมใช้ค่าปรับ หรือได้ทำความตกลง หรือทำทัณฑ์บน หรือให้ประกันตามที่อธิบดีเห็นสมควรแล้วอธิบดีจะงดการฟ้องร้องเสียก็ได้ และให้ถือว่าคดีเลิกกันตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ในกรณีที่อธิบดีเห็นสมควรจะฟ้องบุคคลใดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้บันทึกเหตุผลในการฟ้องผู้กระทำความผิดไว้ด้วย

มาตรา ๒๕๗  ความผิดตามมาตรา ๒๒๗ มาตรา ๒๔๒ มาตรา ๒๔๓ มาตรา ๒๔๔ และมาตรา ๒๔๗ ถ้าราคาของกลางรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วเกินกว่าสี่แสนบาท ให้คณะกรรมการเปรียบเทียบมีอำนาจเปรียบเทียบได้
คณะกรรมการเปรียบเทียบตามวรรคหนึ่งประกอบด้วยผู้แทนกรมศุลกากร ผู้แทนกระทรวงการคลังและผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

เมื่อคณะกรรมการเปรียบเทียบได้ทำการเปรียบเทียบกรณีใด และผู้ต้องหาได้ชำระเงินค่าปรับหรือได้ทำความตกลง หรือทำทัณฑ์บน หรือให้ประกัน ตามคำเปรียบเทียบภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการเปรียบเทียบกำหนดแล้ว ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น